ReadyPlanet.com
dot dot
dot
Free! Register / i-chart Member
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
!!! โปรดใช้ email จริงเ พื่อใช้ในการติดต่อกลับ
dot
dot
หลักสูตรอบรมของ InvestorChart
dot
bulletตารางอบรม ปี 2013
bulletTA101&102 i-Technical Chart
bulletWS201 AdvanceTechnical
bulletWS202 Techni.Strategy as A.
bulletMT301 TradingSystem&Mo..
bulletMT302&303 ElliottWave&Fibo
bulleti-Trainer ทำเนียบวิทยากร
bulletแบบประเมินยอมรับความเสี่ยง
bulletแบบประเมินความถนัดการลงทุน
dot
i-New Link
dot
bulletNation Radio Online
bulletEng -Thai Dictionary
bulletInvestorChart on TV
bulletตารางคำนวน LTF, RMF และ ภาษี
bulletรายงานสภาพจราจร
bulletพยากรณ์อากาศ
bulletInternet Speed Test
bulletMoney Channel Clip
bulletThai Fund Inc.(TTF)
bulletSearch NEWS
dot
i-Tools
dot
bulletDictionary and Glossary
bulletMajor World Indices
bulletUS. Dollar to Thai Baht
bulletChart Dowjone
bulletChart Oil
bulletราคาทองคำโลก Spot Gold
bulletอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
bulletอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
bulletอัตราเงินเฟ้อ
bulletCurrency Converter
bulletALL Chart Today
bulletnew! กราฟหุ้น i-chart30
bulletInvest Strategic
bulletข้อมูลราคา TFEX
dot
i-SET info
dot
bulletMarket Summary
bulletSET Summary
bulletSET Calendar
bulletSET Announcement
bulletTransaction by Investor
bulletNVDR Trading Data
bulletBig Lot Trade
bulletShort Sale Trading
bulletFree Float
bulletTurnover List
bulletIPO Information
bulletบทวิเคราะห์ภาวะตลาด
dot
i-Listed Company Info
dot
bulletCompany Profile
bulletMajor Shareholder
bulletFinancial Report
bulletAnnual Report
bulletForm 56-1
bulletInsider Trade (Form59-2)
bulletForm 246-2
bulletตาราง Warrant
bulletบทวิเคราะห์หุ้นรายตัว
dot
i-News
dot
bulletรวมข่าวประจำวัน I
bulletThai News
bulletEnglish News
bulletSET News
bulletรวมข่าว ย้อนหลัง6เดือน
dot
i-Related Link
dot
bulletOrganizations
bulletEconomic Data
bulletCommodities Futures
bulletInvestment Webboard
bulletInvestment Knowledge


รับจดทะเบียนนิติบุคคล และให้คำปรึกษาทางบัญชี โทร 081-9234842


Oil Futures การลงทุนทางเลือก ที่ไม่ควรมองข้าม

Oil Futures การลงทุนทางเลือก ที่ไม่ควรมองข้าม
        ปัจจุบันการลงทุนผ่าน สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) ถือว่าเป็นทางเลือกการลงทุนที่ไม่ควรมองข้าม เพราะมันสามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างมหาศาล ไม่แพ้หลักทรัพย์อื่นๆ เช่น หุ้นหรือตราสารหนี้ เพียงแต่สินค้าโภคภัณฑ์นี้ จะผันผวนไปตามความต้องการของตลาด จากอุปสงค์อุปทาน ความคาดหวัง และภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาสินค้าโภคภัณฑ์ สามารถปรับตัวขึ้นลงในแต่ละปีไม่ต่ำกว่า 30% หรือ บางปีให้ผลตอบแทนสูงถึง100% เช่น สังกะสี หรือทองแดง ที่เคยเกิดขึ้นในปี 2003 และปี2009 ตามลำดับ


โดยปัจจุบัน ตราสารโภคภัณฑ์ ได้เป็นทางเลือกการลงทุน ให้กับนักลงทุนทั่วโลก โดยมีการซื้อขายผ่านกองทุนรวมเช่น ETF funds หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทั้งนี้ การแบ่งตราสารเหล่านี้สามารถแบ่งเป็นกลุ่มได้เป็น


1. กลุ่มโลหะ (Metal) ได้แก่ เงิน, สังกะสี, ทองแดง, อลูมิเนียม ที่จะใช้เป็นวัตถุดิบของชิ้นส่วนการผลิตในอุตสาหะกรรม ซึ่งมักจะปรับตัวขึ้นลงตามสภาวะเศรษฐกิจ หรือตัวเลขการผลิตหรือตัวเลขอุตสาหกรรมต่างๆ

2. กลุ่มโลหะมีค่า (Precious Metal) ได้แก่ ทองคำ, เงิน, แพลตตินั่ม, พาราเดียม มักใช้เป็นตราสารการเงินเพื่อการลงทุน และบางส่วนอาจเป็นวัตถุดิบของชิ้นส่วนอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนของเม็ดเงินที่เข้าลงทุนในตราสารเหล่านี้มีมากขึ้นเรื่อยๆ หลังจากที่แนวโน้มของค่าเงินดอลลาร์ที่ด้อยค่าลงไป จึงทำให้ตราสารเหล่านี้เริ่มมีสภาพ คล้ายเงินสกุลหนี่งได้เลย โดยภาพในช่วง2-3 ปีที่ผ่านมา ทองคำและเงิน มีการพูดถึงมากขึ้นจากกองทุนต่างๆ ประกอบกับความผันผวนที่มากขึ้นตามจึงทำให้ ณ ปัจจุบันเหล่านักเก็งกำไรและนักลงทุน เข้ามาซื้อขายตราสารเหล่านี้ ไม่แตกต่างจากหุ้นหรือตราสารหนี้เลย

3. กลุ่มสินค้าเกษตร (Agriculture) ได้แก่ กาแฟ, ข้าวโพด, ฝ้าย, ถั่วเหลือง หรือน้ำตาล เป็นต้น ซึ่งจะมีความผันแปรไปตามตามกับความต้องการอาหารโลก รวมถึงสภาวะอากาศและการเพาะปลูก ซึ่งแนวโน้มของราคาสินค้าเหล่านี้ มีแต่จะมากขึ้นเรื่อย จากสภาวะประชากรโลกที่มากขึ้น ในขณะที่แหล่งผลิตและกำลังผลิตมีจำนวนน้อยกว่า จึงถือว่าตราสารนี้นับเป็นตราสารอันหนึ่งที่น่าสนใจในอนาคต

4. กลุ่มพลังงาน (Energy) เช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ หรือ น้ำมัน ซึ่งกลุ่มนี้จะผันแปรไปตามภาวะเศรษฐกิจโลก ความต้องการด้านพลังงาน สภาวะสงคราม หรือสภาวะเงินเฟ้อ ซี่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา น้ำมันจะมีความสำคัญต่อนักลงทุนมากขึ้นเพราะเป็นสสารที่ใช้แล้วหมดไป จึงทำให้เกิดสภาวะการเก็งกำไรอย่างมากในปี 2008 และถือเป็นตัวชี้นำในดัชนีตลาดหุ้นหลายตลาด เนื่องจากราคาน้ำมันมีผลต่อกำไรในหุ้นกลุ่มพลังงานที่มีอยู่ทั่วโลกซึ่งจะมีน้ำหนักการลงทุนอยู่ในสัดส่วนที่มากในดัชนีตลาดหุ้น  แต่อย่างไรก็ดี ณ ปัจจุบันสภาวะการเก็งกำไรในกลุ่มพลังงานอาจมีลดลง แต่ความสัมพันธ์ของราคาน้ำมันกับสภาวะเศรษฐกิจและเงินเฟ้อยังคงมีความชัดเจนที่นักลงทุนสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการประเมิน สภาวะการณ์ต่างๆได้

ทั้งนี้โดยภาพรวมจะเห็นว่า ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจโลกในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา วัฐจักรการเติบโตของตราสารต่างๆในแต่ละช่วง มีอัตราส่วนการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เท่ากัน ซึ่งขึ้นอยู่กับช่วงเวลานั้นๆ โลกให้ความสำคัญกับเรื่องใดมากกว่า แต่อย่างไรก็ดีตราสารที่ได้กล่าวมาเบื้องต้น ล้วนแต่มีความสัมพันธ์กับการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์ ดังนั้นนักลงทุนควรจะทำความเข้าใจถึงธรรมชาติ ของตราสารเหล่านั้นว่ามีการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยใดเป็นหลัก

       ซึ่งปัจจุบันนี้ตลาดอนุพันธ์แห่งประเทศไทย ได้มีการเพิ่มสินค้า Oil futures เข้ามาซื้อขาย เพื่อเป็นทางเลือกการลงทุนให้กับนักลงทุนในไทย ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาถ้าพูดถึงการจัดสินทรัพย์เพื่อการลงทุน น้ำมันถือเป็นตราสารการเงินอันหนึ่งที่จะต้องมีติดไว้ในพอร์ต เนื่องจากเป็นตราสารที่มีความผันแปรไปตามเงินเฟ้อ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา ราคาน้ำมันจะมีการปรับตัวขึ้นเมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ในแต่ละรอบของวัฎจักรเศรษฐกิจ ซึ่งหากนักลงทุนใดเลือกการลงทุนในตราสารหนี้เพียงอย่างเดียว แม้ดอกเบี่ยที่ปรับตัวสูงขึ้นตามอย่างไร จะลงทุนเท่าไร ก็ไม่สามารถชนะเงินเฟ้อได้ จึงจำเป็นจะต้องมีการกระจายหลักทรัพย์เข้าไปในหุ้น หรือ น้ำมัน ซึ่งในช่วงต้นการลงทุนในหุ้นอาจจะสร้างผลตอบแทนได้ดี แต่หากเงินเฟ้อมีการปรับตัวขึ้นแรง จากต้นทุนสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น น้ำมันจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพราะราคาจะเกาะไปกับเงินเฟ้อมากที่สุด แต่อย่างไรก็ดี สินค้าน้ำมันถือว่ามีความผันผวนสูง ซึ่งจากกราฟในอดีตจะเห็นได้ว่า นับตั้งแต่ปี2003 หลังจากเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว จากวิกฤติต้มยำกุ้ง 1997 และผ่านยุคฟองสบู่ดอทคอม 2000 ราคาน้ำมันเคยปรับตัวลงต่ำสุดในปี 2001 ที่ประมาณ 17-18 เหรียญดอลล่าสหรัฐต่อบาเรลล์ และปรับตัวขึ้นสูงสุดในปี 2008 ที่ระดับ145 เหรียญ และปรับตัวลงมาม้วนเดียวที่จุดต่ำสุดในระดับ 35เหรียญ ในระยะเวลาเพียง 6เดือน หรือคิดเป็นการเปลี่ยนแปลง -75% อย่างไรก็ดีในเดือนสิงหาปี 2011 ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นสูงสุดถึง 127เหรียญ (อ้างอิงน้ำมัน Brent)
 

จึงทำให้เห็นได้ว่าจากอดีตถึงปัจจุบัน การซื้อขายพลังงานนั้นมีความสำคัญและมีความสัมพันธ์ทั้งในทางตรงหรือทางอ้อมต่อผู้ลงทุน ซึ่งในอดีตนักลงทุนหลายท่าน อาจเลือกการลงทุนในหุ้นพลังงานโดยตรง เพื่อต้องการให้ผลตอบแทนเกาะไปกับกระแสการลงทุน เพราะผลกำไรบริษัทเหล่านี้ก็จะปรับตัวไปตามราคาน้ำมันที่ขึ้นลงเช่นกัน เช่น หุ้น PTT, PTTEP, TOP เป็นต้น แต่เมื่อมีหุ้นหลายตัวอยู่ในกลุ่มพลังงาน การกระจายการลงทุนที่จะให้ผลตอบแทนได้ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยอาจต้องใช้เงินจำนวนมากเพราะต้องมีการกระจายซื้อหุ้นหลายตัวเข้าในพอร์ต  ดังนั้น จึงได้เกิดการลงทุนทางเลือกประเภทหนึ่ง คือ กองทุนETF พลังงาน ซึ่งในช่วงปี2008 ทางบลจ.ทหารไทย จึงได้ออกหน่วยลงทุนที่ลงทุนในหุ้นพลังงาน และแบ่งน้ำหนักการลงทุนที่ล้อไปกับ SET Energy เลย ซึ่ง ETF ตัวนี้ชื่อว่า ENGY โดยผลตอบแทนการลงทุนแทบจะไม่ต่างจากตัว index ของ SET Energy เลย จากตัวอย่างภาพด้านล่าง

แต่อย่างไรก็ดี ก็มีนักลงทุนหลายคนเห็นว่าราคาหุ้นพลังงานเหล่านี้ บางครั้งก็ไม่ได้สะท้อนถึงราคาน้ำมันที่เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ดังนั้นหากสามารถลงทุนจากราคาน้ำมันโดยตรง น่าจะมีประโยชน์กว่า ในแง่ของการที่จะใช้ ตราสารการเงินที่อ้างอิงราคาน้ำมัน เป็นเครื่องมือในการป้องกันเงินเฟ้อ ต้นทุนการขนส่ง หรือ การกำหนดผลตอบแทนให้ไปในทางเดียวกับสภาวะเศรษฐกิจ

จีงทำให้เกิดกองทุน ETF ที่มีการซื้อขายสัญญาราคาน้ำมันในต่างประเทศ โดยจะมีความผันแปรไปตามราคาน้ำมันโลก ซึ่งเราก็จะเห็นว่านักลงทุนไทย ต้องลงทุนผ่านกองทุนรวมซึ่งจะเป็น FIF หรือ Foreign investement Funds คือมีการตั้งกองทุนเพื่อซื้อกองทุนที่ลงทุนในน้ำมันอีกที โดยในทีผ่านมามี บลจ.หลายที่ ที่ออกตราสารลักษณะเหล่านี้ โดยจะอ้างอิงเป็นราคาน้ำมันจาก West Texas (WTI) เช่น IOIL (บลจ.เอ็มเอฟซี), KOIL (บลจ.กสิกร), TOIL(บลจ.ทิสโก้) เป็นต้น ซี่งแม้ว่าผลตอบแทนที่ผ่านมาจะอ้างอิงไปกับราคาน้ำมัน WTI เสมอ แต่โดยรวมผลตอบแทนก็น้อยกว่าราคาน้ำมันจริงที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน เพราะกองทุนเหล่านี้ มีค่าธรรมเนียมค่อนข้างสูง จึงทำให้ผู้ลงทุนนั้นเสียเปรียบ ในเชิ่งค่าธรรมเนียมที่มาก และการซื้อขายที่มีแค่วันละครั้ง ซึ่งผู้ลงทุนจะมีความเสี่ยงด้านราคา และเสียเปรียบในเรื่องจังหวะการลงทุนเช่นกัน โดยความแตกต่างของผลตอบแทนของแต่ละกองทุนก็จะเกิดจากค่าธรรมเนียมและวิธีการป้องกันความเสี่ยงด้านค่าเงิน จึงทำให้ผลตอบแทนรวมของแต่ละกองแม้แกว่งตัวไปตามทิศทางตลาดแต่ก็มีอัตราส่วนการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เท่ากัน

ดังนั้น OIL Futures จะเป็นคำตอบให้กับใครอีกหลายคน ทั้งในแง่ของผู้ลงทุนและผู้ประกอบการที่จะใช้ลงทุนไปการเติบโตเศรษฐกิจ และใช้เป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยง ซึ่งในโอกาสต่อไปผมคงมาพูดให้ฟังว่าเราใช้ ตราสารเหล่านี้ ในเชิงกลยุทธ์การลงทุน ได้อย่างไรบ้างครับ
 

by dr_morky




i-Knowledge

ความสัมพันธ์ของตลาดตราสารการเงิน
การวิเคราะห์ทางเทคนิค ด้วยปริมาณการซื้อขาย หรือ Volume Analysis
ทำความรู้จักตลาดน้ำมัน และปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาน้ำมัน
ข้อผิดพลาด10ประการของ ผู้ลงทุนในตลาดอนุพันธ์ ตอนที่5 ข้อ9-10 ไม่มีวินัย และการผูกติดกับข้อผิดพลาด
ข้อผิดพลาด10ประการของ ผู้ลงทุนในตลาดอนุพันธ์ ตอนที่4 ข้อ8 ไม่มีการกำหนด Trading plan article
ข้อผิดพลาด10ประการของ ผู้ลงทุนในตลาดอนุพันธ์ ตอนที่3 ข้อ7 Stop Condition
ข้อผิดพลาด10ประการของ ผู้ลงทุนในตลาดอนุพันธ์ ตอนที่2 ข้อ6 กับดักสภาพคล่อง
ข้อผิดพลาด10ประการของ ผู้ลงทุนในตลาดอนุพันธ์ ตอนที่1 ข้อที่1-5
Trader คืออะไร
กลยุทธ์การวิเคราะห์ทางเทคนิค ตอนที่2 ปรัชญาการต่อสู้
กลยุทธ์การวิเคราะห์ทางเทคนิคเพื่อการซื้อขายฟิวเจอร์ (Technical Tactics for Futures Market) ตอนที่1
นักลงทุนกับนักเดินเรือ
Dollar Index ตอนที่ 3 / แนวโน้มของค่าเงินดอลลาร์ในอนาคต
Dollar Index ตอนที่ 2 / ความสำคัญของค่าเงินดอลลาร์
Dollar Index ตอนที่ 1 / Dollar index คืออะไร
กฎแห่งการทำกำไร สองตลาด (ตอนที่2)
กฎแห่งการทำกำไร สองตลาด (ตอนที่1)
Final Settlement price ของ Gold Futures ตอนที่ 2 article
Final Settlement price ของ Gold Futures ตอนที่ 1 article
ประโยชน์ของ TDEX และ SET50 Index Futures / as of 13Oct08
เมื่อตลาดหุ้น ผันผวน ตลาด TFEX คือทางเลือกหนึ่งในคำตอบ article
ดัชนีและเครื่องชี้เศรษฐกิจ นั้นสำคัญไฉน article
กองทุน ETF พลังงาน ทางเลือกใหม่ให้เพื่อนนักลงทุน article
เครื่องตรวจจับ หุ้นเข้าข่าย การปั่นหุ้น ด้วยTurnover List article
World Market Trend Part II ตลาดหุ้นโลกแตกขั้ว กับ มหัศจรรย์ Fibonacci article
กระแสเงิน Fund Flow ฝรั่งซื้อ จริง หรือ หลอก article
Hedging with Dividend Story กลยุทธ์ล้อมกรอบผลตอบแทนกับ หุ้นปันผล article
เมื่อกราฟหันทิศ ตลาดหุ้นทั่วโลก เปลี่ยนเป็นแนวโน้มขาลง article
Yen carry trade ประเด็นค่าเงินเยน ที่น่าจับตา article
การวิเคราะห์ทางเทคนิค สามารถมองเห็นถีงผลประกอบการล่วงหน้าจริงหรือ
“การรักษาสิทธิ ของนักลงทุน ผ่าน เครื่องมือบนอินเทอร์เนต “ article
กองทุน Equity ETF (Exchange Traded Fund) ทางเลือกใหม่ในการลงทุนสำหรับคนไทย
สรุปเนื้อหาและรูปภาพ งานเสวนา ในหัวข้อ ” อยากรวยต้องรู้ หาได้ใช้เป็น” article
บัญญัติ 10 ประการ "อยากรวย ต้องรู้" article
คำถามว่าเมื่อไหร่หุ้นจะพักตัว เป็นคำถามที่นักลงทุนหลายคนอยากรู้ article
เส้นค่าเฉลี่ย หรือ Moving Average article
ทิศทางการพัฒนา และการกำกับดูแลตลาดทุนไทย
ก.ล.ต. คืออะไร หลายท่าน เคยได้ยิน แต่ท่านรู้จักดีไหม
กรณีศีกษา พอร์ตการลงทุน ปี 49
หลักการวิเคราะห์หุ้น IPO article
หลักเกณ์ค่าธรรมเนียมใหม่ สำหรับนักลงทุนออนไลน์ article
การขึ้นเครื่องหมายต่างๆ ในระบบการซื้อขายหุ้น article
วันตลาดนัดผู้ลงทุนไทย วันเสาร์และอาทิตย์ที่ 2-3 ธันวาคม 2549 article
Internet Trading แนวโน้มของการลงทุนยุคใหม่ article
ประชาสัมพันธ์ งานมหกรรมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ 2549 article
การหาข้อมูล หุ้น IPO article
ความผิดพลาดที่สำคัญ 9 ประการของนักลงทุน article
ทฤษฎีดาวถูกคิดค้นขึ้นโดยนายชาร์ลส์ เอช ดาว (Charles H. Dow) หรือบิดาแห่งการวิเคราะห์ทางเทคนิค article
กฎ 10 ข้อในการอยู่รอดและการลงทุนด้วย การวิเคราะห์ทางเทคนิค article
INVEST Magazine article
บทสรุปสำหรับนักเก็งกำไร article
ตอนที่ 4 บทความกลยุทธ์การเก็งกำไร ข้อ 9-12 (ตอนจบ) article
ตอนที่ 3 บทความกลยุทธ์การเก็งกำไร ข้อ 5-8 article
กลยุทธ์การเก็งกำไร ข้อที่ 1-4 article
วางแผนซื้อหุ้น RMF และ LTF article
บทนำกลยุทธ์การเก็งกำไร article
เกร็ดชีวิตนักค้าหุ้นระดับโลก จาก หนังสือ เรื่อง “Reminiscences of a stock operator” 21/06/06 article
เศรษฐศาสตร์น่ารู้ โดย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง article
เศรษฐกิจวิเคราะห์ ประเด็นที่น่าจับตากับภาวะเงินเฟ้อ article
เปิดประตูสู่การเงิน บทความที่น่าสนใจ article
ตารางประกาศจ่ายเงินปันผล (issued date : 26/05/2006) article
Introduction of Technical Analysis article
ความแตกต่างของการวิเคราะห์หุ้นทางพื้นฐานกับการวิเคราะห์ทางเทคนิค article
ทำไมนักลงทุนถึงจำเป็นต้องเรียนรู้ การวิเคราะห์ทางเทคนิค article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

Investor Chart Co.,Ltd.
87 Sathupradit Soi 10 , Thungwatdorn, Sathorn, Bangkok, 10120
Mobile. 090-9744799, Email: info@investorchart.com


MFCfund.Com