6.ไม่ประเมินสภาพคล่องของสถานะคงค้าง OI (Open Interest) และ Volume
มีนักลงทุนหลายท่าน มองเห็นถึงโอกาสส่วนต่างทางด้านราคา ของสินค้าอนุพันธ์ ไม่ว่าจะเป็น Single Stock , Gold Futures หรือ SET50 index options ว่ามีราคาอนุพันธ์ที่ห่างจากสินค้าอ้างอิง อยู่มากแต่เมื่อเขาซื้อขายแล้ว กลับไม่สามารถทำกำไรได้ เนื่องจากไม่สามารถหาสัญญาตรงข้ามมาปิดสถานะเพื่อทำกำไรได้จริง กลับเห็นกำไรเป็นแค่ unrealized Profit ที่อยู่ในพอร์ต แต่พอเมื่อวันเวลาผ่านไป กลับเจอปัญหาว่า ทิศทางของราคาได้เปลี่ยนไปในทางตรงกันข้ามกับที่เปิดสถานะไว้ จึงทำให้ตัวเองต้องขาดทุนอย่างไม่ได้ตั้งใจ แตซ้ำร้ายกว่านั้น หากหลักประกันมีไม่มากพอ อาจต้องโดนบังคับขายด้วยราคาที่ไม่พึงประสงค์ และขาดทุนในที่สุด ในเวลาต่อมา
ดัวยความบังเอิญที่ไม่ตั้งใจ และคิดว่าจะทำกำไร แต่ต้องมาขาดทุนด้วยเหตุสภาพคล่อง ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ผู้ลงทุนในตลาดอนุพันธ์ไม่ควรละเลยคือเรื่องสภาพคล่อง ซี่งผมได้เห็นนักลงทุนต่อหลายท่านผิดพลาดจาก เหตุผลข้อนี้อยู่มากเพราะดูความต่างด้านราคาเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ก่อนเปิดสถานะ ในสัญญา Series ใด หรือproduct ใด จะต้องดูเรื่องของสภาพคล่องจากปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน รวมถึง การเปิดสถานะคงค้างที่เรียกว่า Open interest ที่จะบอกว่ามีผู้ที่ยังคงเปิดสถานะไว้และต้องการรอจับคู่ปิดสัญญาคงเหลืออยู่เท่าไหร่ ซี่งหากมีสัดส่วนจำนวนสัญญาที่มากกว่าจำนวน Volume ที่ซื้อขายในแต่ละวันมากเท่าไหร่นั้น ก็จะยิ่งบอกถึงสภาพคล่องของการซื้อขายอนุพันธ์ มากยิ่งขึ้น รวมถึงใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการเข้าเก็งกำไร ของสินค้าอนุพันธ์ที่มีเดือนหมดอายุที่แตกต่างกัน เพื่อพิจารณาว่าเราควรจะเข้าไปซื้อขายใน Series ใดมากกว่า หากต้องการซื้อขายเก็งกำไรแบบระยะสั้น
ซึ่งทั้งนี้ตราสารอนุพันธ์โดยทั่วไป อาจคิดว่าสัญญาที่ใกล้จะหมดอายุมากที่สุดจะต้องมีสภาพคล่องมากที่สุด อาจไม่จริงเสมอไป เพราะหากเราสังเกตุ การซื้อขาย ของ Gold futures นั้น ในช่วงใกล้จะหมดอายุในสองสัปดาห์สุดท้ายของ Series นั้นก็จะมีสภาพคล่องน้อยลงเมื่อเทียบกับสัญญาใน Series ในเดือนถัดไปเป็นต้น นอกจากนี้สินค้าอนุพันธ์บางประเภทจะมีจำนวน Open interest ที่มากในสัญญาที่มีอายุการซื้อขายยาวที่สุด เช่นสินค้าเกษตรล่วงหน้า (ยางพารา, ข้าว) เพราะนักเก็งกำไรไม่ต้องการที่จะส่งมอบสินค้าจริง และยิ่งอายุยาวมากก็ยิ่งมีความผันผวนของราคาได้มากกว่า สัญญาที่ใกล้จะหมดอายุ
ดังนั้นผู้ลงทุนสามารถ เข้าดูข้อมูลการซื้อขายเพื่อตรวจสอบสภาพคล่องได้ จากเวปไซด์ www.tfex.co.th และหน้าจอการซื้อขาย
http://www.tfex.co.th/tfex/dailyMarketReport.html?locale=th_TH



จากตัวอย่างข้างต้น หากผู้ลงทุนจะเห็นว่า เราสามารถเลือกดูสัญญาที่มีปริมาณการซื้อขายมากที่สุดจาก Most Active Volume เพื่อจะได้รู้ว่าจำนวนการซื้อขายต่อวันมีมากน้อยเท่าไหร่ ซึ่งปัจจุบันจะเห็นได้ว่า สัญญา SET50 เดือนที่จะหมดอายุ มิ.ย.54 (S50M11) มีการซื้อขายต่อวันสูงถึง 10,859 สัญญา ซึ่งรองลงมาก็จะเป็น Gold futures 10 บาท ส่วน Single Stock จะมีสภาพคล่องอยู่น้อย ซึ่งจะมีตัวที่นิยมเก็งกำไรกันมากคือ KTBM11 และ TTAM11
ส่วนข้อมูล Open int. (Open interest)ของ S50M11นั้น แสดงผลว่ามีสัญญาคงค้างเพื่อรอการปิดสถานะ 25,731สัญญา ซึ่งก็นับได้ว่ามีสภาพคล่องอยู่มาก
หรือกราฟข้อมูล จากตัวอย่างนี้

จะเห็นได้ว่า Single stock ของ KTBH11 และ KTBM11ในช่วงเวลาหนึ่งๆ จะมีสภาพคล่องแตกต่างกัน หากดูจาก Open interest ในช่วงปลายเดือนมีนาคม ในสัญญา KTBH11 ที่กำลังจะหมดอายุลง โดยตัวopen interest ของสัญญาดังกล่าว(เส้นสีเขียว) ก็จะมีการปรับตัวลดลงเนื่องจากมีการปิดสัญญา ก่อนที่จะหมดอายุเพื่อลดความเสี่ยง หรือ Roll over สัญญาไปถือใน Series ถัดไป เช่น KTBM11 จึงทำให้สภาพคล่องของ KTBM11 มีจำนวนมากขึ้น ซี่งดูได้จาก open interest และ Volume จาก กราฟสีเหลือง
แต่อย่างไรก็ดี หากผู้ลงทุนไม่ได้ประเมินถึงสภาพคล่อง และเข้าไปลงทุนในFutures อย่าง KBANKM11 ในภาพด้านล่าง ก็จะประสบปัญหาในการปิดสัญญาไม่ได้ เพราะจะเห็นได้ว่าปริมาณการซื้อขายบางวัน อาจไม่มี โดยสถานะคงค้างสูงสุดอย่างที่เห็นคือ 35สัญญา ซึ่งหมายความว่าหากเปิดสถานะแค่ 10สัญญา ก็อาจไม่สามารถปิดสถานะ ได้ในราคาที่ผู้ลงทุนต้องการ

สรุปได้ว่า
"การเข้าลงทุนในหลักทรัพย์ใดก็ตาม โดยมิได้ประเมินถึงสภาพคล่อง
อาจเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้นักลงทุนต้องขายสินค้าในราคาที่ไม่ได้เป็นไปตลาด
เนื่องจาก มีข้อจำกัดด้านเวลาที่ต้องมีวันหมดอายุ"