สภาวะตลาดหุ้นไทยได้แกว่งตัวปรับตัวขึ้นบวกอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ ลุ้นทดสอบแนวต้านสำคัญ บริเวณ 850จุด หลังได้อานิสงค์จากตลาดหุ้นดาวโจนส์ที่ส่งสัญญาณสดใส ปรับตัวขึ้นบวกช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากเฟด ลดอัตราดอกเบี้ย เพียง 0.25% ซึ่งทำให้หลายนักวิเคราะห์เชื่อว่า แนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะสิ้นสุดในเร็วนี้ จึงส่งผลเชิงบวก ต่อหุ้น กลุ่มสถาบันการเงินที่ คาดว่าจะได้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนกลับมาอีกครั้ง หลังจากระบบสถาบันการเงินเข้าสู่สภาวะปรกติ ซึ่งการคงอัตราดอกเบี้ย หรือชะลอ นั้นได้ส่งสัญญาณถึงความรุนแรงว่าได้ลดลงไปบ้างแล้ว โดยหุ้นที่ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นอเมริกาปรับตัวขึ้นได้ ยังมีหุ้นในกลุ่มค้าปลีก และ กลุ่มเทคโนโลยี อย่าง แอปเปิ้ล อิงค์ที่ ผลกำไรเติบโตเป็นอย่างมาก
โดยเราเชื่อว่า ตลาดหุ้นไทย ในสัปดาห์นี้ ยังมีโอกาสปรับตัวขึ้นตามอนิสงค์ ของตลาดหุ้นในต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ดี เรายังให้กรอบการเคลื่อนที่ของ SET index อยู่ที่ 830-850 จุด โดยการปรับตัวทะลุผ่านจะเป็นสัญญาณยืนยัน แนวโน้มที่จะมีการปรับขึ้นหรือลงอย่างรุนแรง ซึ่งหุ้นกลุ่มที่น่าจับตาในช่วงนี้ คือหุ้นกลุ่มรับเหมา และกลุ่มหลักทรัพย์
โดยประเด็นที่น่าจับตาคือ
1.การแข็งค่าเงินสกุลสหรัฐ อเมริกา ที่ยังคงมีต่อเนื่อง โดยจะเห็นได้จากแนวโน้มของผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล สหรัฐ ที่แกว่งตัวขึ้นไปในช่วงก่อนหน้าที่เฟด จะมีการลดอัตราดอกเบี้ยที่น้อยลงในช่วงสิ้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มที่ มีโอกาสแข็งค่าต่อเนื่อง โดยเราเชื่อว่าการแข็งค่าจะเริ่มชะลอตัวในช่วงสัปดาห์ที่สองของเดือนพ.ค. ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาทองคำ และราคาน้ำมัน ปรับตัวขึ้นอีกครั้ง
2. การอ่อนค่าของเงินบาท จากการแข็งค่าของดอลลาร์ อาจเกิดขึ้นได้อีกไม่นาน โดยเราชื่อว่า ค่าเงินบาท จะเริ่มทรงตัวได้ในสัปดาห์นี้ ซึ่งจะส่งผลให้แรงขาย ของนักลงทุนต่างชาติจะเริ่มหมดไป
3. ราคาทองคำอ่อนตัวต่ำสุดในรอบ 15สัปดาห์ อยู่ที่บริเวณ 850ออนซ์ต่อดอลลาร์ หลังจากที่ปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดที่ 1030 เหรียญในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งเรามองว่าจังหวะนี้ น่าจะเป็นการทะยอยสะสมซื้อทองคำได้อีกครั้ง เพราะระดับ 850-820จุด น่าจะเป็นระดับแนวรับสำคัญทางเทคนิค สำหรับการปรับตัวลงในรอบนี้ ซึ่งเราเชื่อว่าหากค่าเงินดอลลาร์มีการอ่อนตัวดีดกลับ ก็จะส่งผลให้ทองคำปรับตัวขึ้นได้อย่างเร็วเช่นกัน
กลยุทธ์การลงทุน ยังคงเน้นการลงทุนตามแนวโน้ม โดยซื้อขายตามสัญญาณหุ้น ในตาราง i-Chart50 โดยประเด็นที่น่าจับตา คือ หากหุ้นในกลุ่มพลังงาน ไม่ได้ปรับตัวลง และยังคงรักษาระดับราคาไว้ได้ อาจทำให้หุ้นกลุ่มธนาคาร กลับมาเป็นตัวผลักดันดัชนีให้ปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ได้อีกครั้ง กลยุทธ์อาจเลือกเล่น กลุ่มไม้รอง เช่นหลักทรัพย์ เป็นต้น
หุ้นทีมีการย้าย Zone ในสัปดาห์นี้เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว
Positive Momentum
Zone A ได้แก่ SCCC
Zone B ได้แก่ TDEX, S50m08, BGH, ITD
หุ้นที่เพิ่งย้ายเข้า Zone A และ B ล้วนเป็นหุ้นที่น่าจับตา สำหรับการลงทุน
Negative Momentum
Zone C ได้แก่ BEC, SCB
Zone D ได้แก่ ไม่มี
หุ้นที่เพิ่งย้ายเข้า Zone C และ D คือหุ้นที่ควรหลีกเลี่ยงการลงทุน หรือขายทำกำไร
คำแนะนำ
หุ้นที่เพิ่งมีการเปลียน ข้าม Zone มักจะเป็นการปรับตัวต่อเนื่องระดับกลาง ซึ่งอาจเกิด Momentum ต่อเนื่อง ได้อย่างน้อย 3 สัปดาห์
(Positive Momentum) คือหุ้นที่เพิ่งย้าย Zone มาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นอีกครั้ง ซึ่งเกิดภาพในเชิงบวก โดยสามารถซื้อถือ ระยะกลาง ซึ่งนักลงทุนอาจพิจารณาจากกราฟทางเทคนิค หรือประเมิณสัญญาณ indicator จากตาราง i-Technical SET50 ได้
A หรือ B เพิ่งมีการเปลี่ยน Zone ในด้านบวก เช่น D->A, A->B, C->B
(Negative Momentum) คือหุ้นที่เพิ่งมีการเปลียนย้าย Zone มาอยู่ใน Zone ลบ จะสามารถทำให้เกิดแรงขายต่อเนื่องได้ ซึ่งควรหลีกเลี่ยงลงทุนในหุ้นดังกล่าว หรือ อาจขายเพิ่อ Short sell หรือ switch เปลี่ยนตัวเล่น
C หรือ D เพิ่งมีการเปลี่ยน Zone ในด้านลบ เช่น A->D, B->C,C->D
Download ตาราง i-Chart SET50 2 May 08.pdf (194.87 KB)
นิยาม ตาราง i- Chart SET50
คือ ตารางที่ดูแนวโน้มการเคลื่อนที่ของหุ้นใน SET50 ว่าอยู่ในช่วงแนวโน้มแบบใด ว่าจะเป็นขาขึ้น หรือขาลงด้วยการวิเคราะห์ทางเทคนิคด้วยการใช้สัญญาณ indicator ต่างๆ เพื่อบอกทิศทางและความเชื่อมั่นของนักลงทุน ซี่งจะใช้ข้อมูลระดับสัปดาห์มาเป็นตัวกำหนด โดยผู้ลงทุนสามารถเลือกหุ้น ที่อยู่ในแนวโน้มต่างๆจาก STOCK TIME ZONE แบบ A, B, C, D และยังสามารถดูข้อมูลอื่นประกอบ เช่น Price over, Sma cross ที่จะบอกถึงความเชื่อมั่นที่ดี หากเป็น +
Zone A คือ หุ้นที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นของขาขึ้น พร้อมจะปรับตัวขึ้นแรงหาก MACD Cross Zero line แล้วข้ามเป็น Zone B (เป็นช่วงสะสมหุ้น,หรือหาจังหวะซื้อ) ซึ่งบางกรณีอาจเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ได้หากราคาหุ้นปัจจุบัน ยังปรับตัวลงต่อ แต่ในความหมายของ Zone A นี้หมายความว่าแรงขายเริ่มลดน้อยถอยลง และมีโอกาสที่จะปรับเป็นขาขึ้นในไม่ช้า
Zone B คือ หุ้นที่เป็นขาขึ้นในระดับ Bullish (สภาวะกระทิง)ซึ่งนักลงทุนจะมีความมั่นใจและหุ้นจะสามารถปรับตัวขึ้นแรง ซึ่งสามารถถือหุ้น และซื้อเก็งกำไรได้(Trading Buy)
Zone C คือ หุ้นที่ควรหลีกเลี่ยง และควรทำกำไร เพราะหุ้นได้อยู่ในแนวโน้มขาลงแล้ว หรือควรเปลี่ยนตัวเล่น (Reduce, Switch)
Zone D คือ หุ้นที่ยังคงแนวโน้มขาลง ซึ่งยังคงปรับตัวลงลึกรอที่จะกลับเป็นแนวโน้มขาขึ้นอีกครั้ง (Buy on weekness, Accumulate)
คำนิยามและความหมาย
1) Stock = คือหุ้นจาก SET50 2) Last Trade (Close price, Change price, % change) = ราคาปิดของสัปดาห์, การเปลี่ยนแปลงของราคาเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมาและเปอร์เซ็นการเปลี่ยนแปลง 3) Volume Monitor (Volume W,Volume average 5W) = ปริมาณการซื้อขายของจำนวนหุ้นในสัปดาห์, ปริมาณการซื้อขายหุ้นเฉลี่ยใน5สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเครื่องหมาย(+,-) เป็นการบอกว่ามีปริมาณการซื้อขายหุ้นสัปดาห์นั้นมากกว่าหรือน้อยกว่าปริมาณการซื้อขายเฉลี่ย5สัปดาห์ ***(จำนวนเต็มต้องคูณด้วย 1,000หุ้น) 4) Momentum Play (Simple Moving Average 5 weeks[Sma 5W], Simple Moving Average 10 weeks [Sma 10W],Price Over 5 W,Price Over 10 W,Sma cross, RSI Week, SMA 5 weeks ของ RSI (RSI SMA5W) ,MACD cross, Bullish or Bearish) = สัญญานทางเทคนิคที่บอกทิศทางของหุ้นว่ามีแนวโน้มขึ้น (+)หรือลง(-) อย่างไร โดยจะมีการเรียงสัญญาณทางเทคนิคตาม ความไวของสัญญาณ ตั้งแต่ Price over 5W. หรือ 10W.ราคาปิดที่มากกว่าราคาเฉลี่ย 5สัปดาห์ หรือ10สัปดาห์ สัญญานเป็น(+) หมายถึงแนวโน้มขึ้น , SMA cross ราคาเฉลี่ย 5สัปดาห์สูงกว่าราคาเฉลี่ย10สัปดาห์ บอกถึงทิศทางขาขึ้น สัญญานเป็น+ , ส่วนสัญญาน MACD ที่เป็น+ เกิดจากค่าของเส้น MACD Line มากกว่าค่าของ Signal Line, และค่าMACD Line ที่มากกว่าศูนย์บอกถึงสภาวะหุ้นตัวนั้นว่าเป็นสภาวะกระทิง (Bullish) หรือสภาวะหมี (Bearish) หากค่าต่ำกว่าศูนย์ 5) TIME ZONE = บอกถึงสภาวะของหุ้นตัวนั้นว่าอยู่ในช่วงแนวโน้มแบบใด 6) Last Zone=สภาวะหุ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าอยู่โซนใด,Pres.Zone = Present Zone สภาวะหุ้นในสัปดาห์ปัจจุบัน 7) 52-weeks Range = ช่วงราคาที่สูงที่สุดและต่ำที่สุดในรอบ 52 สัปดาห์