ตลาดหุ้นทั่วโลกในสัปดาห์ที่ผ่านมา ยังมีการแกว่งตัวอย่างกระจัดกระจาย คือ มีหลายตลาดที่ไม่ได้ปรับตัว เหมือนกันตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา โดยสังเกต ได้ว่ามีตลาดหุ้นที่แข็งแกร่งกว่าสหรัฐได้แก่ ตลาดหุ้นไต้หวัน ฮ่องกง และ รวมถึงตลาดหุ้นไทย ที่สามารถปรับตัวขึ้นบวกในวันศุกร์ แม้ว่าตลาดหุ้นทั่วโลกจะอ่อนตัวก็ตาม
แต่อย่างไรก็ดี เมื่อสังเกต จากจำนวนหุ้นที่เปลี่ยนแปลง เป็นบวก นั้นกลับเห็นว่ามีจำนวนน้อยกว่าหุ้นที่ปรับตัวลดลง ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า มีเพียงหุ้นขนาดใหญ่ไม่กี่ตัวผลักดันตลาด ได้แก่หุ้นกลุ่มพลังงาน และ กลุ่มธนาคาร ซึ่งเป้าหมายการปรับตัวขึ้นบวก นั้นเพื่อสร้างภาพแนวโน้มเชิงบวกในระดับสัปดาห์ที่จะทำให้ค่า MACD ปรับตัวขึ้นเหนือศูนย์ในสัปดาห์นี้ เพื่อจะสร้างโมเมนตัมเชิงบวกต่อ ให้กับตลาดอีก 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า โดยปัจจุบันภาพ SET index กำลังสร้างรูปแบบการปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง แต่ แนวต้านที่สำคัญอยู่ที่ 860จุด ซึ่งหากผ่านได้ จะสามารถเห็นดัชนีแถวยอด high เดิมบริเวณ 910จุด ได้ไม่ยาก
ซึ่งประเด็นที่น่าจับตาในสัปดาห์นี้คือ
1.บริษัทจดทะเบียนหลายบริษัท ได้ประกาศผลประกอบการส่วนใหญ่ออกมาแล้ว ซึ่งมีการแจ้งเรื่องการจ่ายปันผล ด้วยเช่นกัน ดังนั้น จะมีหลายบริษัทที่จะทะยอยขึ้นเครื่องหมาย XD ตลอดเดือนนี้และเดือนหน้า ซึ่งนักลงทุนควรติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด เพราะอาจมีผลต่อราคาหุ้นนั้น ๆ เมื่อขึ้นเครื่องหมาย ไปแล้ว
2. นักลงทุนต่างชาติ มีสัดส่วนการซื้อหุ้นลงอย่างเห็นได้ชัด โดยการประเมิณสัดส่วนตาม Fibonnaci จะเห็นว่า นับแต่การขายหุ้นต่อเนื่องตั้งแต่เดือน พ.ย. 50 ถึง ปลายเดือน ม.ค.51 ได้มีการซื้อกลับจากปริมาณมูลค่าการขายหุ้นสะสมทั้งหมด ในเดือนก.พ. นับเป็นสัดส่วน ที่ 38.2%แล้ว ดังนั้นหมายความว่า การซื้ออาจจะชะลอตัวในช่วงนี้
3.ค่าเงินบาทแข็งค่ารุนแรง เนื่องจากข่าวการยกเลิกมาตราการ 30% ซึ่งปัจจุบัน แนวโน้มทางเทคนิค เชื่อว่าค่าเงินบาทใกล้จุดการกลับตัวแล้ว ซึ่งอาจเป็นเหตุผลให้ต่างชาติขายหุ้นไทยในระยะสั้นนี้ได้
4. ค่าเงินเยนแข็งค่าทำสถิติใหม่รวมถึงการอ่อนค่าต่อเนื่องของ dolllar index ซึ่งจะส่งผลเชิงลบต่อตลาดทุนทั่วโลกอีกครั้ง โดยจะเป็นสาเหตุให้มีการขายหุ้น นำเงิน Carry Trade มาคืนอีกครั้ง ซึ่งผมเชื่อว่า อาจมีการทำจุดต่ำสุดใหม่ของตลาดอเมริกา และบางตลาดหุ้นที่ มีแนวโน้มเดียวกับอเมริกา
5.หุ้นกลุ่ม PTT มีการสร้างรูปแบบ เป็น กรอบสามเหลี่ยม รอการ Break ขนาดใหญ่หากปรับตัวขึ้นต่อ จะทำให้เกิดการเหวี่ยงตัวขึ้นของ SET อย่างรุนแรงได้ แต่การหักหัวลงจะบอกการจบรอบของตลาดหุ้นไทย ทันที โดยหุ้นกลุ่มธนาคารเป็นตัวแปรที่สำคัญเช่นกัน ซึ่งจะเห็นได้จากการปรับตัวขึ้นของ BBL
กลยุทธ์การลงทุน
เราเชื่อว่าดัชนี ยังมีแนวโน้มการปรับตัวขึ้นต่อ แต่อาจปรับตัวขึ้นเพียงหุ้นบางตัวหรือบางกลุ่ม ซึ่งยังมีความเสี่ยง ทางปัจจัยแวดล้อมอยู่มาก จากสภาวะหุ้นในต่างประเทศ การอ่อนตัวของค่าเงินสหรัฐ และ การแข็งค่าของเงินเยน รวมถึง การซื้อของนักลงทุนต่างชาติที่ชะลอตัว นั่นหมายความว่าหุ้นรอบนี้ อาจขึ้นเร็ว แต่เหวี่ยงไหว ง่าย ซึ่งอาจปรับตัวลงอย่างรวดเร็วเหมือนกัน เพราะหุ้น ไม่ได้ขึ้นพร้อมกันทั้งตลาด กลยุทธ์ที่ดี คือเลือกซื้อหุ้นรายตัว ที่คิดว่าจะเป็นตัวผลักดันตลาด แต่ต้องติดตามสภาวะตลาดอย่างใกล้ชิด เริ่มลดสัดส่วน เมื่อใกล้แนวประทะ และลงทุน ไม่เกิน 70%
หุ้นทีมีการย้าย Zone ในสัปดาห์นี้เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว
Positive Momentum
Zone A ได้แก่ SET50, S50H08, S50M08, IRPC, RATCH, BAY, PTTCH, PTTAR
Zone B ได้แก่ TCAP, BEC
หุ้นที่เพิ่งย้ายเข้า Zone A และ B ล้วนเป็นหุ้นที่น่าจับตา สำหรับการลงทุน
Negative Momentum
Zone C ได้แก่ ไม่มี
Zone D ได้แก่ ไม่มี
หุ้นที่เพิ่งย้ายเข้า Zone C และ D คือหุ้นที่ควรหลีกเลี่ยงการลงทุน หรือขายทำกำไร
คำแนะนำ
หุ้นที่เพิ่งมีการเปลียน ข้าม Zone มักจะเป็นการปรับตัวต่อเนื่องระดับกลาง ซึ่งอาจเกิด Momentum ต่อเนื่อง ได้อย่างน้อย 3 สัปดาห์
(Positive Momentum) คือหุ้นที่เพิ่งย้าย Zone มาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นอีกครั้ง ซึ่งเกิดภาพในเชิงบวก โดยสามารถซื้อถือ ระยะกลาง ซึ่งนักลงทุนอาจพิจารณาจากกราฟทางเทคนิค หรือประเมิณสัญญาณ indicator จากตาราง i-Technical SET50 ได้
A หรือ B เพิ่งมีการเปลี่ยน Zone ในด้านบวก เช่น D->A, A->B, C->B
(Negative Momentum) คือหุ้นที่เพิ่งมีการเปลียนย้าย Zone มาอยู่ใน Zone ลบ จะสามารถทำให้เกิดแรงขายต่อเนื่องได้ ซึ่งควรหลีกเลี่ยงลงทุนในหุ้นดังกล่าว หรือ อาจขายเพิ่อ Short sell หรือ switch เปลี่ยนตัวเล่น
C หรือ D เพิ่งมีการเปลี่ยน Zone ในด้านลบ เช่น A->D, B->C,C->D
Download ตาราง i-Chart SET50 29Feb08.pdf (201.15 KB)
นิยาม ตาราง i- Chart SET50
คือ ตารางที่ดูแนวโน้มการเคลื่อนที่ของหุ้นใน SET50 ว่าอยู่ในช่วงแนวโน้มแบบใด ว่าจะเป็นขาขึ้น หรือขาลงด้วยการวิเคราะห์ทางเทคนิคด้วยการใช้สัญญาณ indicator ต่างๆ เพื่อบอกทิศทางและความเชื่อมั่นของนักลงทุน ซี่งจะใช้ข้อมูลระดับสัปดาห์มาเป็นตัวกำหนด โดยผู้ลงทุนสามารถเลือกหุ้น ที่อยู่ในแนวโน้มต่างๆจาก STOCK TIME ZONE แบบ A, B, C, D และยังสามารถดูข้อมูลอื่นประกอบ เช่น Price over, Sma cross ที่จะบอกถึงความเชื่อมั่นที่ดี หากเป็น +
zone A คือ หุ้นที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นของขาขึ้น พร้อมจะปรับตัวขึ้นแรงหาก MACD Cross Zero line แล้วข้ามเป็น Zone B (เป็นช่วงสะสมหุ้น,หรือหาจังหวะซื้อ) ซึ่งบางกรณีอาจเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ได้หากราคาหุ้นปัจจุบัน ยังปรับตัวลงต่อ แต่ในความหมายของ Zone A นี้หมายความว่าแรงขายเริ่มลดน้อยถอยลง และมีโอกาสที่จะปรับเป็นขาขึ้นในไม่ช้า
zone B คือ หุ้นที่เป็นขาขึ้นในระดับ Bullish (สภาวะกระทิง)ซึ่งนักลงทุนจะมีความมั่นใจและหุ้นจะสามารถปรับตัวขึ้นแรง ซึ่งสามารถถือหุ้น และซื้อเก็งกำไรได้(Trading Buy)
zone C คือ หุ้นที่ควรหลีกเลี่ยง และควรทำกำไร เพราะหุ้นได้อยู่ในแนวโน้มขาลงแล้ว หรือควรเปลี่ยนตัวเล่น (Reduce, Switch)
zone D คือ หุ้นที่ยังคงแนวโน้มขาลง ซึ่งยังคงปรับตัวลงลึกรอที่จะกลับเป็นแนวโน้มขาขึ้นอีกครั้ง (Buy on weekness, Accumulate)
คำนิยามและความหมาย
1) Stock = คือหุ้นจาก SET50 2) Last Trade (Close price, Change price, % change) = ราคาปิดของสัปดาห์, การเปลี่ยนแปลงของราคาเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมาและเปอร์เซ็นการเปลี่ยนแปลง 3) Volume Monitor (Volume W,Volume average 5W) = ปริมาณการซื้อขายของจำนวนหุ้นในสัปดาห์, ปริมาณการซื้อขายหุ้นเฉลี่ยใน5สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเครื่องหมาย(+,-) เป็นการบอกว่ามีปริมาณการซื้อขายหุ้นสัปดาห์นั้นมากกว่าหรือน้อยกว่าปริมาณการซื้อขายเฉลี่ย5สัปดาห์ ***(จำนวนเต็มต้องคูณด้วย 1,000หุ้น) 4) Momentum Play (Simple Moving Average 5 weeks[Sma 5W], Simple Moving Average 10 weeks [Sma 10W],Price Over 5 W,Price Over 10 W,Sma cross, RSI Week, SMA 5 weeks ของ RSI (RSI SMA5W) ,MACD cross, Bullish or Bearish) = สัญญานทางเทคนิคที่บอกทิศทางของหุ้นว่ามีแนวโน้มขึ้น (+)หรือลง(-) อย่างไร โดยจะมีการเรียงสัญญาณทางเทคนิคตาม ความไวของสัญญาณ ตั้งแต่ Price over 5W. หรือ 10W.ราคาปิดที่มากกว่าราคาเฉลี่ย 5สัปดาห์ หรือ10สัปดาห์ สัญญานเป็น(+) หมายถึงแนวโน้มขึ้น , SMA cross ราคาเฉลี่ย 5สัปดาห์สูงกว่าราคาเฉลี่ย10สัปดาห์ บอกถึงทิศทางขาขึ้น สัญญานเป็น+ , ส่วนสัญญาน MACD ที่เป็น+ เกิดจากค่าของเส้น MACD Line มากกว่าค่าของ Signal Line, และค่าMACD Line ที่มากกว่าศูนย์บอกถึงสภาวะหุ้นตัวนั้นว่าเป็นสภาวะกระทิง (Bullish) หรือสภาวะหมี (Bearish) หากค่าต่ำกว่าศูนย์ 5) TIME ZONE = บอกถึงสภาวะของหุ้นตัวนั้นว่าอยู่ในช่วงแนวโน้มแบบใด 6) Last Zone=สภาวะหุ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าอยู่โซนใด,Pres.Zone = Present Zone สภาวะหุ้นในสัปดาห์ปัจจุบัน 7) 52-weeks Range = ช่วงราคาที่สูงที่สุดและต่ำที่สุดในรอบ 52 สัปดาห์