หลายๆ คน เมื่อพูดถึงการวิเคราะห์ทางเทคนิค อาจรู้สึกว่า เป็น อวิชาที่ ไม่มีหลักการใดๆ พิสูจน์ได้ เปรียบเสมือน ทฎษฎี Random Walk หรือการให้ลิงปาเป้า ซึ่งจริงแล้ว การวิเคราะห์ทางเทคนิคส่วนหนี่ง เป็นการอ่านพฤติกรรมของนักลงทุนจากราคาหุ้น (หรือเครื่องจับเท็จ) ที่บ่งบอกว่ามีกลุ่มคนหรือนักลงทุน ว่ามีการคาดการณ์ถึงผลกระทบ ในอนาคตจากปัจจัยทางพื้นฐาน หรือการได้รับข้อมูลภายในล่วงหน้า โดยหลายครั้งเราจะสามารถเห็นถึงพฤติกรรมของราคาหุ้นที่มีความผิดแปลก แตกต่าง จากหุ้นในกลุ่ม เสมอ ก่อนที่จะมีการแจ้งข่าวสำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งถึงโครงการในอนาคต หรือผลประกอบการ ดังนั้น เพื่อทำให้ทุกท่านเข้าใจมากยิ่งขึ้นผมจึงขอทำตัวอย่างดังนี้ครับ
หลายๆครั้ง ที่ การปรับตัวขึ้นลงของหุ้นในแต่ละรอบมักมีการ แกว่งตัวขึ้นลงของหุ้นแต่ละตัวได้ไม่เท่ากัน แต่อะไรคือสาเหตุหรือปัจจัยที่อยู่เบื้องหลัง ซึ่งหากพิจารณาให้ดี เมื่อตอนสภาวะตลาด SET index สร้างจุดสูงสุดใหม่ทะลุกรอบแนวต้านที่ 820จุด ในวันที่ 21 กันยายน ที่ผ่านมา นั้นได้ส่งผลให้เกิน Momentum เชิงบวกในระยะกลางทำให้ดัชนีปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 908จุด ในช่วงระยะเวลา 4สัปดาห์ต่อจากนั้น คิดเป็นการเปลี่ยนแปลงของดัชนีกว่า +10%

ซึ่งหากเปรียบเทียบกับหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ก็จะเห็นถึงความแตกต่างของการเปลี่ยนแปลงของหุ้นธนาคารแต่ละตัวที่แตกต่างกัน โดยผมจะขอยกตัวอย่างดังนี้

ภาพนี้คือภาพที่บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นในช่วงวันที่ 20 ก.ย.50 ก่อนที่ตลาดจะปรับตัวขึ้นเหนือ 820จุด โดยภาพบนคือหุ้น SCB , ภาพกลางคือ หุ้น SCIB และ ภาพล่างคือ SETBANK โดยจะเห็นได้ว่า ดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคาร (SETBANK) และ SCB มีการปรับตัวขึ้น เป็นลักษณะ uptrend ในขณะที่หุ้น SCIB มีการแกว่งตัวในกรอบแคบ และปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย โดยหากเราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดขึ้น ท่านสามารถดูได้ในภาพ ถัดไปนี้

จากภาพท่านจะเห็นว่า หุ้น SCB มีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงสูงสุด เมื่อเทียบกับราคาปิดในวันที่ 20 ก.ย.50 ที่ +12.75% ส่วน SETBANK เปลี่ยนแปลงสูงสุด +11.25% ในขณะที่ หุ้น SCIB เปลี่ยนแปลงสูงสุดที่ 6.15% ซี่งหากมีใครได้ซื้อหุ้น SCIB ไปก็คงต้องอีดอัด ว่าทำไมหุ้น ไม่ไปไหน Side way ตลอด จะโผล่หัวขึ้นไปเมื่อไหร่ ก็ถูกคนขายใส่ มา ณ บัดนี้ ผมว่าหลายท่านคนพอจะเข้าใจถึงเหตุและผลการบ้างแล้ว จากผลประกอบการในไตรมาส 3 ที่ออกมาให้ความกระจ่าง โดยในวันที่ 22 ตุลาคม 2550 เวลา 9.00 น.
ซึ่งจะเห็นว่ามีการแจ้งผลประกอบการอย่างน่าผิดหวังจาก เคยกำไร เป็นขาดทุน ซึ่งเกิดจากการตั้งสำรองหนี้สูญจำนวนมาก พร้อม ตัวเลข NPL ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งท่านสามารถเห็นจากข่าวในบทวิเคราะห์ด้านล่าง

และนี้คือเหตุผล ที่ทำไมหุ้น SCIB มีการปรับตัวขึ้นที่น้อย กว่าค่าเฉลี่ยของหุ้นในกลุ่มธนาคาร ซึ่งอาจมองได้ว่าการที่ราคาหุ้นไม่ขึ้นเกิดจาก การขายของกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือหลายคนที่รู้ว่าจะมีการตั้งสำรองหนี้สูญจำนวนมาก ในไตรมาสนี้ ที่จะแสดงตัวเลขเป็นขาดทุน หรือไม่คนผู้นั้น ต้องมีการคาดการณ์ได้แม่นยำเลยทีเดียว ว่าจะตั้งสำรองในช่วงไตรมาสไหน ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ ก็จะถือโอกาส ทำกำไรล่วงหน้าไปก่อน หรือ ขายหุ้นเปลี่ยนตัวเล่น
แต่ในทางกลับกัน เราจะเห็นว่าได้ว่า หุ้นอีกตัว คือ SCB กลับมีการปรับตัวที่สูงกว่า SET BANK ในช่วงก่อนการประกาศผลประกอบการในเย็นวันที่ 18 ต.ค.50 เสียอีก และหากเมื่อเทียบกับการปรับตัวลงของตลาดและหุ้นในกลุ่มธนาคาร ดังในรูปที่ 3 จะเห็นว่าการอ่อนตัวมีการอ่อนตัวลงเพียงเล็กน้อย ซึ่ง ปัจจัยที่ทำให้ราคาหุ้น SCB ยังคงสามารถแข็งแรงและยืนอยู่ได้ นั้นเกิดจาก ผลประกอบการที่เติบโตต่อเนื่อง ถึงขั้นดีมาก และยังมีตัวเลข NPL ที่ลดลง ดังจะเห็นได้จากบทวิเคราะห์ด้านล่าง

ดังนั้นผมขอสรุปอย่างนี้ครับว่า การวิเคราะห์ทางเทคนิค นั้นจะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้ท่านเห็นภาพการลงทุนได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งท่านสามารถใช้เป็นองค์ประกอบกับการตัดสินใจควบคู่กับตัวเลขทางพื้นฐาน หรือผลประกอบการได้
ซึ่งการวิเคราะห์กราฟ คือการอ่านพฤติกรรมของ นักลงทุน หรือผู้ที่วิเคราะห์ข้อมูลภายในได้ดีกว่า โดยส่วนใหญ่มักจะมีขนาดการลงทุนที่ใหญ่กว่าเรา ซึ่งจะแสดงความต้องการ ซื้อหรือความต้องการขาย ผ่าน ปริมาณการซื้อขายที่เกิดขึ้นจริงในตลาด ซึ่งเปรียบเสมื่อนกับการอ่านเครื่องจับเท็จ
โดยพฤติกรรมจากนักลงทุนในกราฟทางเทคนิค มักจะหลอกกันไม่ได้ เพราะเกิดจากปริมาณการซื้อขายที่เกิดขึ้นจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหุ้นขนาดใหญ่
ดังนั้นหากท่าน พิจารณาการวิเคราะห์ทางเทคนิค เป็นเครื่องมือประกอบ หรือเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจ ก็จะทำให้ท่าน เห็นนมุมมองการลงทุนที่ รอบคอบขึ้นกว่าเดิมครับ ซี่งในโอกาสต่อไป ผมจะยกตัวอย่างอื่นมาให้ฝากกันครับ
หากท่านใด สนใจเรียนรู้การวิเคราะห์ทางเทคนิค สามารถติดตามการอบรม ได้ที่นี่ คลิ๊ก