ReadyPlanet.com


“ฟิทช์” คงอันดับเรตติ้งไทย ที่ BBB+


“ฟิทช์” คงอันดับเรตติ้งไทย ที่ BBB+

5 กันยายน 2549 12:52 น.
“ฟิทช์ เรทติ้งส์” ยังคงอันดับเรตติ้งประเทศไทยที่ BBB+ Stable แม้ว่าจะยังมีปัจจัยเสี่ยงด้านการเมือง โดยไทยเป็น 1 ใน 4 ประเทศแถบเอเชีย ที่ดัชนีชี้วัดเสรีภาพทางการเมืองในประเทศลดลง

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นาย James McCormack ผู้อำนวยการฝ่ายจัดอันดับความน่าเชื่อถือภูมิภาคเอเชีย บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ กล่าวถึงภาพรวมเศรษฐกิจและการเมืองไทยว่า ฟิทช์ยังคงให้เรตติ้งประเทศไทยอยูที่ BBB+ Stable แม้ว่าประเทศไทยจะยังมีความไม่แน่นอนเรื่องการเลือกตั้ง แต่ก็ยังไม่มีผลต่อการจัดเรตติ้ง โดยทางฟิทช์จะยังจับตาอย่างใกล้ชิดต่อปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองที่อยู่ในระดับสูง เพราะดัชนีชี้วัดเสรีภาพทางการเมืองในประเทศแถบเอเชีย คือ เกาหลีเหนือ ศรีลังกา ไต้หวัน และไทย มีดัชนีดังกล่าวลดลงเนื่องจากมีพรรคการเมืองฝ่ายค้านที่อ่อนแอ ทำให้ความเสี่ยงเรื่องการเมืองยังมีอยู่สูง

นอกจากนี้ จากการที่ยังไม่มีการเลือกตั้งและมีรัฐบาลรักษาการส่งผลกระทบทำให้การบริโภคและการลงทุนชะลอตัวลง ดูได้จากผลการเลือกตั้งปี 2547 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับสูงขึ้นถึงระดับ 110 และลดลงต่อเนื่องต่ำกว่าระดับ 80 เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจที่ลดลงจากระดับ 50 เหลือต่ำกว่าระดับ 45

นอกจากนี้ การที่ยังไม่มีรัฐบาลชุดใหม่ทำให้การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจหลายเรื่องต้องเลื่อนออกไป ซึ่งเป็นผลกระทบทางลบต่อภาวะเศรษฐกิจไทย ประกอบกับการบริโภคและการลงทุนที่ลดลงอาจมีผลทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยของไทยลดลงไปด้วย เพราะการที่ไทยจะพึ่งการส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจคงลำบากกว่าเดิม เพราะการส่งออกมีแนวโน้มชะลอลงตามเศรษฐกิจโลกและสหรัฐ “จุดที่ฟิทช์ให้ความสำคัญมากที่สุดคือ ความรุนแรงทางการเมือง และการไม่มีรัฐบาล โดยหากมีความรุนแรงก็อาจจะมีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้ลดลง กระทบต่อกระแสเงินไหลเข้าจากต่างประเทศ และจะขยายวงกว้างไปกระทบหนี้ต่างประเทศและเงินสำรองระหว่างประเทศให้ลดลงด้วย โดยหากมีเหตุการณ์ดังกล่าว ทางฟิทช์อาจจะมีการทบทวนเรตติ้งประเทศไทย แต่หากเหตุการณ์เป็นปกติ ต้นปี 2550 ฟิทช์ก็จะทบทวนการพิจารณาอีกครั้ง” นาย James McCormack กล่าว

นาย James McCormack กล่าวว่า เมื่อพิจารณาจากตัวเลขเศรษฐกิจไทยพบว่าภาระหนี้ต่างประเทศที่ลดลง เงินสำรองระหว่างประเทศที่แข็งแกร่งยังเป็นปัจจัยสนับสนุนพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทย แต่การที่ดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มชะลอตัวลง ไม่ได้เป็นผลจากการส่งออกเพิ่มขึ้น แต่เป็นเพราะการนำเข้าลดลง โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะเติบโต 4.3% ปี 2550 ขยายตัว 4.6% โดยอยู่บนพื้นฐานว่าปัญหาการเมืองมีทางออกและมีการเลือกตั้ง ซึ่งจะทำให้การบริโภคภายในประเทศดีขึ้น



ผู้ตั้งกระทู้ musashi โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2006-09-05 13:43:15 IP : 221.128.88.222


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (713232)
ผู้แสดงความคิดเห็น _ ›ำ^๖ฝขถ จ วันที่ตอบ 2007-07-18 14:55:56 IP : 203.146.127.159


ความคิดเห็นที่ 2 (748512)
ผู้แสดงความคิดเห็น _ ›ำ^๖ฝขถ จ วันที่ตอบ 2007-08-24 17:11:45 IP : 203.146.127.179



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.