ReadyPlanet.com


กระทู้ ค่าเงินบาท OnShore กับ OffShore ที่น่าสนใจ




ผู้ตั้งกระทู้ dr กระทู้ตั้งโดยสมาชิก โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2007-02-12 12:13:28 IP : 125.25.138.68


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (505116)

ค่าเงินบาทในตลาดไทยสำหรับคนไทย

                                                                                                    ‘ คนในตลาด’

 

               ตลาดเงินบาทถูกแบ่งแยกออกเป็น 2 ตลาดอย่างเห็นได้ชัด นับตั้งแต่ต้นปี 2550 เป็นต้นมา และคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับมาตรการกันเงินสำรองอันลือลั่นของ ธปท.    เพราะในความเป็นจริง  เรื่องหนึ่งเป็นเหตุ  อีกเรื่องหนึ่งเป็นผล

               การที่กติกาของมาตรการดังกล่าวกำหนดให้นักลงทุนต่างประเทศจะต้องยินยอมให้ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยกันเงินสำรองไว้เป็นจำนวนร้อยละ 30 ของจำนวนเงินตราต่างประเทศที่ต้องการนำมาแลกเป็นเงินบาท กับธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยนั้น  ทำให้นักลงทุนต่างประเทศบางรายเลือกที่จะทำธุรกรรมกับสถาบันการเงินในต่างประเทศ เพื่อจะได้ไม่ต้องถูกกันเงินสำรอง  ทำให้มีการค้าขายเงินบาทระหว่างนักลงทุนต่างประเทศและสถาบันการเงินต่างประเทศด้วยกันเองในตลาดต่างประเทศ ( เช่น สิงคโปร์) อยู่จำนวนหนึ่ง   ในขณะที่คนไทยก็เลือกที่จะค้าขายเงินบาทกันในประเทศเพราะได้ราคาดีกว่า   การมีตลาดเงินบาท  2  ตลาด จึงได้เกิดขึ้น จะเรียกว่าแยกเป็น ตลาดไทย กับตลาดฝรั่ง ก็ไม่ผิดนัก

               ค่าเงินบาทในแต่ละตลาดก็ถูกกำหนดโดยปริมาณความต้องการซื้อ-ขายในตลาดนั้นๆ

เพราะ ความต้องการทั้ง 2 ด้าน  ไม่ก้าวข้ามพรมแดนไปทำธุรกรรมในอีกตลาดหนึ่ง ด้วยผลของมาตรการและความแตกต่างกันของราคา    ในช่วงระยะเวลากว่า 1 เดือนที่ผ่านมา ความต้องการซื้อและความต้องการขายเงินบาทในตลาดไทยค่อนข้างสมดุล ทำให้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวไม่มากนักในแต่ละวัน   แต่ในตลาดฝรั่งไม่ได้เป็นอย่างนั้น  ความต้องการขายดอลลาร์ รับบาท ไม่ว่าจะเพื่อเหตุผลใดๆ  มีมากกว่าความต้องการซื้อดอลลาร์มาตั้งแต่ต้น ทำให้ เงินบาทในตลาดฝรั่งแพงกว่าในตลาดไทยอยู่เล็กน้อยเป็นปกติ  

               ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ความไม่สมดุลของความต้องการซื้อและความต้องการขายในตลาดฝรั่งเพิ่มขึ้นมาก จนทำให้ค่าเงินบาท ในตลาดฝรั่งแข็งกว่าในตลาดไทยมากกว่า 2 บาทและทำให้คนไทยหลายคนโดยเฉพาะผู้ส่งออกก็พลอยตกอกตกใจไปกับฝรั่งเขาด้วย  ทั้งๆ ที่เป็นตลาดของเขาแท้ๆ  ถ้าตกใจแล้วอยู่เฉยๆ ก็คงไม่เป็นไร แต่ถ้ามีปฏิกริยาตอบสนอง โดยเร่งขายดอลลาร์ออกมาเพราะคิดว่าค่าเงินบาทในตลาดไทยจะต้องปรับแข็งขึ้นตาม  ก็เท่ากับคนไทยด้วยกันเองเป็นผู้ทำให้เกิดความไม่สมดุล  เงินบาทก็จะแข็งค่าขึ้นอย่างที่คิด    เข้าใจว่าในช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้ว  ปฏิกริยาตอบสนองอย่างที่ว่าคงมีปริมาณมากพอสมควร จนตลาดไทยกระเพื่อมไปเหมือนกัน

 

 

               การแบ่งแยกตลาดและความแตกต่างของค่าเงินบาทใน 2 ตลาดตามที่กล่าวมาข้างต้น  เป็นเรื่องที่ผู้ที่มีธุรกิจเกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศจะต้องทำความเข้าใจให้ดี   สำหรับคนไทย ไม่ว่าจะเป็นผู้ส่งออก ผู้นำเข้า ผู้ที่***้ยืมเงินจากต่างประเทศ  ผู้ที่ลงทุนในต่างประเทศ  รวมทั้งผู้ที่มีรายได้  รายจ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศ  ค่าเงินบาทที่มีผลกระทบต่อท่าน คือค่าเงินบาทในตลาดไทยเท่านั้น  และค่าเงินบาท ใน 2 ตลาด เคลื่อนไหวเป็นอิสระต่อกันด้วยผลของมาตรการของธปท.    พูดง่ายๆ ก็คือ การแข็งค่าหรืออ่อนค่าของเงินบาทในตลาดหนึ่ง ไม่เป็นเหตุปัจจัยให้ค่าเงินบาทในอีกตลาดหนึ่งต้องเคลื่อนไหวตามไปด้วย

               ด้วยสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่นี้  การทำความเข้าใจและเลือกใช้ข้อมูลที่ถูกต้องเป็นเรื่องที่จำเป็น  ไม่อย่างนั้น ก็มีแต่จะเสียกับเสีย ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม (จะเสียอะไรบ้าง  ลองคิดดูนะครับ) หากไม่แน่ใจ ก็ขอให้ติดต่อสอบถามจากธนาคารพาณิชย์ ก่อนที่จะตัดสินใจทำธุรกรรมใดๆ    นอกจากนั้น  หากสื่อไทยทุกประเภท จะร่วมด้วยช่วยกันนำเสนอข้อมูลค่าเงินบาทจากตลาดไทยเท่านั้น ก็จะช่วยพี่น้องร่วมชาติได้มาก     ค่าเงินบาทในตลาดไทยสำหรับคนไทยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น dr ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2007-02-13 16:45:52 IP : 125.25.136.218


ความคิดเห็นที่ 2 (505120)

ค่าเงินบาทอยู่ที่เท่าไหร่กันแน่

ผ่องเพ็ญ  เรืองวีรยุทธ

 

           ท่านที่ติดตามค่าเงินบาทจากหน้าจอของบริษัทขายบริการข่าวสารทางการเงินในช่วงนี้  อาจจะรู้สึกแปลกใจว่าค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์เปลี่ยนแปลงขึ้นลงวันละหลาย ๆ ครั้ง บางครั้งเผลอหน่อยเดียวค่าเงินบาทแข็งขึ้นตั้ง 2 บาท  เผลออีกหน่อย ก็กลับลงมาอยู่ที่เดิม  อย่างเช่นเมื่อวานนี้   ดูเผินๆ จะเห็นว่าค่าเงินบาทจะวิ่งขึ้น-ลงอยู่ระหว่าง 34.40 ถึง 35.80 บาทต่อดอลลาร์  หลายท่านอาจจะคิดว่าค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนยิ่งกว่าเก่า หรือบางท่านอาจสงสัยว่าค่าเงินบาทที่ถูกต้องคือเท่าไหร่กันแน่  วันนี้เราลองมาหาคำตอบของคำถามทั้ง 2 ข้อนี้กัน

             คำตอบที่สั้นและตรงประเด็นก็คือ ค่าเงินบาท 2 ตัวนี้มาจากคนละตลาด  อ่านคำตอบนี้แล้วก็ต้องถามต่อว่า เหตุใดจึงมีมากกว่า 1 ตลาด  และเหตุใดค่าเงินบาทใน 2 ตลาดนี้จึงแตกต่างกัน ทั้ง ๆ ที่ในช่วงก่อนหน้า ไม่ว่าใครจะซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินบาทกับเงินดอลลาร์ที่กรุงเทพฯ หรือที่

สิงคโปร์หรือแม้แต่ที่ลอนดอน ก็ใช้อัตราเดียวกัน

                เรื่องนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับมาตรการกันเงินสำรองของแบงค์ชาติ ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม เป็นต้นมา   ต้นเรื่องก็คือ นักลงทุนต่างชาติส่วนหนึ่งอยากจะค้าขายเงินบาทด้วยกันเอง

ไม่ว่าจะเป็นเพราะความคุ้นเคยที่ค้าขายด้วยกันมาก่อนหรือเพราะต้องการหลีกเลี่ยงการถูกกันเงินสำรองร้อยละ 30    จึงเกิดมีตลาดเงินบาทในกลุ่มนักลงทุนต่างชาติขึ้น ตลาดที่ใหญ่ที่สุดก็อยู่ที่

สิงคโปร์  ค้าขายกันเองมาร่วมเดือน  ปรากฎว่าค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศก็แข็งขึ้นมาเรื่อย ๆ เพราะมีคนอยากซื้อเงินบาทมากกว่าคนอยากขาย  อีกทั้งปริมาณเงินบาทที่มีอยู่ในมือของนักลงทุนต่างชาติก็มีอยู่จำกัดเนื่องจากผลของมาตรการ

                ส่วนตลาดในประเทศ ก็ยังค้าขายกันเป็นปกติ เงินบาทแม้ว่าจะแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ไม่มากนักและค่าเงินบาทที่แตกต่างกันใน 2  ตลาดทำให้ผู้ส่งออกไทยเลือกที่จะขายดอลลาร์กับธนาคารพาณิชย์ในประเทศเพราะได้ราคาดีกว่า  การแบ่งแยกเป็น 2 ตลาด จึงเกิดขึ้นอย่างชัดเจน และอย่างที่กล่าวไว้ตอนต้น เมื่อวานนี้ค่าเงินบาทใน 2  ตลาดต่างกันกว่า 1  บาท  ดังนั้น ที่ท่านเห็นค่าเงินที่ 34.40 บาทในวินาทีนี้ และเปลี่ยนเป็น 35.80 ในวินาทีต่อมา ก็เนื่องจากเป็นค่าเงินที่มาจากคนละตลาด  ไม่ใช่จากการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาทในช่วงเวลานั้น ๆ

                หลายคนในตลาดเชื่อกันว่าค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศจะต่างจากค่าเงินบาทในประเทศจนกว่า ธปท. จะยกเลิกมาตรการกันเงินสำรอง  เพราะถึงตอนนั้น เงินบาทก็จะซื้อขายกันในราคาเดียวกันเหมือนเดิม   ดังนั้น คนไทยที่มีธุรกิจเป็นเงินตราต่างประเทศจะต้องแยกแยะให้ออกว่าราคาไหนเป็นราคาที่ถูกต้อง
              ข้อแนะนำ คือ กลับไปดูที่หน้าจอข่าวสารทางการเงินหน้าเดิมและหาว่าราคาที่ปรากฏอยู่ในขณะนั้นเป็นของใคร  ถ้าเป็นของธนาคารพาณิชย์ในประเทศ ก็เป็นอันรู้กันว่า เป็นค่าเงินบาทของตลาดในประเทศที่คนไทยสามารถใช้เป็นแนวทางในการกำหนดราคาขายสินค้าส่งออก หรือใช้ในการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศต่าง ๆ  ถือว่าเป็นราคาที่ถูกต้องสำหรับคนไทย   แต่ถ้าเป็นราคาของสถาบันการเงินในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสิงคโปร์  ฮ่องกง  ลอนดอน  ก็ไม่ต้องไปสนใจให้เสียเวลา

              วันก่อน นั่งดูข่าวโทรทัศน์ ก็ยังเห็นการรายงานค่าเงินบาทโดยใช้ราคาในตลาดต่างประเทศ ซึ่งก็แสดงว่ายังมีความเข้าใจในเรื่องนี้ไม่ถูกต้อง  ดังนั้นผู้ใช้ข้อมูลค่าเงินบาทจากสื่อต่างๆ ก็ต้องเพิ่มความระมัดระวังและตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนนำไปใช้

ผู้แสดงความคิดเห็น dr ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2007-02-13 16:47:11 IP : 125.25.136.218


ความคิดเห็นที่ 3 (713146)
ผู้แสดงความคิดเห็น _ ›ำ^๖ฝขถ จ วันที่ตอบ 2007-07-18 14:55:21 IP : 203.146.127.159


ความคิดเห็นที่ 4 (748457)
ผู้แสดงความคิดเห็น _ ›ำ^๖ฝขถ จ วันที่ตอบ 2007-08-24 17:08:44 IP : 203.146.127.179



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.