ReadyPlanet.com


จับตาเศรษฐกิจสหรัฐ


พลวัตเศรษฐกิจ : อนุสรณ์ ธรรมใจ  Anusorn4reform@Gmail.com  กรุงเทพธุรกิจ  วันศุกร์ที่ 03 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549

ตัวเลขการจ้างงานเดือนตุลาคมของสหรัฐอเมริกาที่จะประกาศในคืนวันนี้ จะเป็นข้อมูลอีกชุดหนึ่ง ที่ทำให้เราเห็นภาพทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐได้ชัดเจนขึ้น แต่คาดว่าตัวเลขการจ้างงาน ยังคงปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย แม้ว่าก่อนหน้านี้ จะมีข่าวบรรษัทข้ามชาติสัญชาติมะกันจะทยอยปรับคนงานออกอย่างต่อเนื่องก็ตาม ความเคลื่อนไหวล่าสุด บริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่อย่างฟอร์ดปรับแผนธุรกิจเพิ่มการลงทุนในจีนขณะที่ประกาศปลดพนักงานในสหรัฐจำนวนเกือบ 58,000 หรือประมาณร้อยละ 40 ของพนักงานประจำทั้งหมดของบริษัท มีแผนการจะปิดโรงงานในอเมริกาเหนือ 9 แห่งในปี 2551 และจะปิดเพิ่มอีก 7 แห่ง คือ ในปี 2555 ตรงนี้สะท้อนถึงอนาคตที่ไม่สดใสเอาเสียเลยสำหรับตลาดรถยนต์ในอเมริกาเหนือ

ยอดขายของซูเปอร์สโตร์วอลมาร์ทก็ทรุดลงอย่างเห็นได้ชัด บ่งชี้ว่า การบริโภคชะลอ บวกเข้ากับ ความวิตกกังวลเรื่องฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ ทำให้แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐดูน่าเป็นห่วง

หลังจากสำนักงานคอนเฟอร์เรนซ์บอร์ดของสหรัฐ ได้เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนตุลาคมปรับตัวลดลงต่อเนื่อง และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์มาก ส่งผลให้มีการเทขายเงินดอลลาร์ เพราะไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ ทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงมากที่สุดในรอบ 1 เดือน

จากตัวเลขทางเศรษฐกิจหลายตัวที่ทยอยออกมา ทำให้ตลาดคาดทิศทางแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยสหรัฐว่าจะไม่ปรับเพิ่มขึ้นในเร็วๆ นี้อย่างแน่นอน คงต้องจับตามองเป็นพิเศษ ยอดส่งออกไทยคงจะมีผลกระทบตามสมควร แม้ว่าตลาดส่งออกสินค้าไทยจะพึ่งพิงตลาดสหรัฐน้อยลง แต่ก็ยังเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดอยู่ดี

ความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลกนั้นดูเหมือนจะเพิ่มขึ้น

เศรษฐกิจสหรัฐอ่อนแอลงอย่างเห็นได้ชัด การอ่อนตัวของดอลลาร์จะทำให้ดุลยภาพทางด้านการค้า มีการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ดุลยภาพใหม่ เพราะจีนและประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ยังมีการเติบโตเศรษฐกิจแข็งแกร่ง ค่าเงินจะแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์

แรงกดดันต่อค่าเงินหยวนของจีนให้ลอยตัวก็จะเพิ่มขึ้นอีก

แรงกดดันจากตลาดการเงินระหว่างประเทศให้จีนปรับเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินหยวน ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เสียงเรียกร้องดังกล่าวย่อมอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า ค่าเงินหยวนที่อ่อนค่าเกินจริง อาจส่งผลทำให้เกิดการเสียสมดุลของเศรษฐกิจจีน เศรษฐกิจสหรัฐ และเศรษฐกิจโลก

ปัจจัยร้อนแรงของเศรษฐกิจจีนเป็นผลให้ค่าเงินภูมิภาคและเงินบาทแข็ง

ความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลกนั้น มักจะถูกกล่าวอ้างโดยสหรัฐว่า มีสาเหตุมาจากจีน และเอเชียบางประเทศ ส่งออกสินค้าไปตีตลาดมากเกินไป โดยไม่มองว่าสังคมอเมริกันนั้นเองก็บริโภคเกินตัวมาก จึงทำให้เกิดปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูง สิ่งที่สหรัฐควรทำไปพร้อมกับการชี้นิ้วให้ประเทศอื่นปฏิรูปเศรษฐกิจ คือ ปฏิรูปเศรษฐกิจตัวเองเสียใหม่

ย้อนรอยประวัติศาสตร์เศรษฐกิจสหรัฐก็จะเห็นว่า มีการปฏิรูปกันหลายครั้ง อย่างยุคที่เกิดขบวนการปฏิรูปประเทศ ก็คาบเกี่ยวกับยุคสมัยของประธานาธิบดีสามท่าน หากเทียบเป็น พ.ศ.ก็จะตรงกับ พ.ศ. 2444-2459 ช่วงนั้นตรงกับยุคสมัย ประธานาธิบดีธีโอดอร์ รูสเวลท์ ประธานาธิบดีวิลเลียม เอช ทัฟท์ ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน ขณะเมืองไทยของเรานั้น รัชกาลที่ 5 ได้ริเริ่มให้มีการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2435

การทุจริตคอร์รัปชันในวงการเมืองและราชการ ความไร้ประสิทธิภาพและการเล่นพรรคเล่นพวกในระบบราชการ การผูกขาดทางธุรกิจของอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ ในช่วง พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) มีการรวมบริษัทในสหรัฐ เพื่อผูกขาดการผลิตและการค้ามากถึง 300 กว่าบริษัท มูลค่าเม็ดเงินลงทุน 7.5 พันล้านดอลลาร์ ขนาดของเงินทุนในระดับนี้ถือว่ามหาศาลในยุคนั้น

สามัญชนจำนวนมากเกิดความรู้สึกว่า จะสร้างตัวขึ้นมาอย่างไร ด้วยระบบผูกขาดแบบนั้น ทำให้คนอเมริกัน วิตกกังวลต่ออนาคตของตัวเอง และประเทศชาติ เกิดกระแสความคิดเห็นร่วมกันในหมู่ประชาชน และนักการเมืองจำนวนหนึ่งว่าถึงเวลาปฏิรูปประเทศแล้ว

เช่นเดียวกับวันนี้ ที่สหรัฐอเมริกาเองก็เผชิญกับการทุจริตคอร์รัปชันในวงการเมือง ราชการและธุรกิจ กรณีเอนรอนที่เพิ่งมีการตัดสินลงโทษผู้บริหารระดับสูงของบริษัทไปเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน

การปฏิรูปธรรมาภิบาลในวงการเมืองและวงการธุรกิจเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ นอกจากนี้ คงต้องปฏิรูปงบประมาณภาครัฐใหม่ด้วย เพราะสองสมัยของรัฐบาลบุชแห่งพรรครีพับลิกัน ได้ใช้เม็ดเงินมหาศาลไปกับการทำสงคราม และการต่อต้านการก่อการร้าย

นอกจากนี้ คงต้องหาทางปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมในหลายสาขา เพราะเวลานี้สินค้าจากสหรัฐในหลายอุตสาหกรรมไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าจากเอเชียได้เลย ทั้งด้านราคาและคุณภาพ บริษัทต่างๆ ประสบปัญหาในเรื่องผลประกอบการและมีการปลดคนงานออกจากงานเป็นระยะๆ

การเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐที่กำลังมาถึงนี้ กลุ่มนักการเมืองที่ชูนโยบายกีดกันทางการค้า เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายใน เพื่อรักษาการจ้างงานของคนอเมริกันกำลังมาแรงในทุกเขตเลือกตั้ง ครับ

และแน่นอนที่สุด ย่อมทำให้ผู้ส่งออกไทยเกิดความหวั่นไหวขึ้นมาบ้าง จากสถานการณ์ดังกล่าว ฉะนั้นจับตาความเคลื่อนไหวในสหรัฐให้ดี ครับ



ผู้ตั้งกระทู้ musashi โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2006-11-04 12:53:34 IP : 61.47.104.50


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (444190)
การเมืองกับเศรษฐกิจ

ส่องกล้องเศรษฐกิจ : ดร.อาภรณ์ ชีวะเกรียงไกร  กรุงเทพธุรกิจ  วันพฤหัสบดีที่ 02 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549

ผู้เขียนได้เดินทางไปประชุมที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในสัปดาห์ที่ผ่านมา และพบว่าประเด็นปัญหาใหญ่ของชาวอเมริกันในปัจจุบัน มีอยู่ 2 เรื่องใหญ่ คือ การชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่ในไตรมาสที่สามมีอัตราการเจริญทางเศรษฐกิจเพียง ร้อยละ 1.6 นับว่าเป็นอัตราที่ชะลอตัวลงค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 5.6 ในไตรมาสแรก และร้อยละ 2.6 ในไตรมาสที่สองตามลำดับ สาเหตุหลักมาจากการชะลอตัวลงของการใช้จ่ายของประชาชน ซึ่งการใช้จ่ายของผู้บริโภคนี้ คิดเป็น***ส่วนสูงถึงร้อยละ 70 ของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา แม้คาดว่าเศรษฐกิจน่าจะฟื้นตัวขึ้นบ้างในไตรมาสที่สี่ของปีนี้ จากการอ่อนตัวลงของราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) เคยขึ้นไปอยู่ระดับสูงสุดที่ 78 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลงถึงเกือบ 25% มาอยู่ที่ระดับ 58 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในปัจจุบัน และการทรงตัวของอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางสหรัฐ ได้คงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงไว้ที่ 5.25% ในการประชุม 3 ครั้งที่ผ่านมา

แต่กำลังซื้อของประชาชนจะลดลงด้วยเช่นกัน เนื่องจากการอ่อนตัวลงของราคาบ้านที่อยู่อาศัย และชะลอตัวลงของการจ้างงาน แต่อัตราการเจริญเติบโตของไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ก็ไม่น่าจะเกินร้อยละ 3 และทำให้อัตราการขยายตัวทั้งปี อยู่ที่ประมาณร้อยละ 2.6-3.0%

อัตราการเติบโตดังกล่าวเป็นการชะลอตัวลงแต่ไม่ได้ถึงขั้นเศรษฐกิจถดถอย อย่างไรก็ตามนักเศรษฐศาสตร์มองว่า เป็นการเติบโตที่ต่ำกว่าระดับแนวโน้มปกติ เพียงแต่เป็นยุติการเติบโตในระดับสูงกว่าปกติ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้กระแสความรู้สึกความเชื่อมั่น และความนิยมต่อตัวประธานาธิบดี และรัฐบาลลดลงอย่างชัดเจน ซึ่งกระแสดังกล่าวนั้นจะทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเวลาแห่งการเลือกตั้ง

ในสหรัฐอเมริกาเองก็จะมีการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกขึ้นในวันที่ 7 พฤศจิกายน ศกนี้ ซึ่งมีคาดการณ์กันว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคเดโมแครต มีแนวโน้มที่จะได้รับชัยชนะการเลือกตั้งมากขึ้น และทำให้มีเสียงข้างมากในรัฐสภา ประเด็นที่มีการนำเอามาใช้หาเสียงที่สำคัญทางเศรษฐกิจ คือ การขาดดุลการคลังของรัฐบาลที่มีกำลังเพิ่มมากขึ้น สาเหตุสำคัญคือ ค่าใช้จ่ายในการทำสงครามในอิรัก ที่ยืดเยื้อมานานถึง 4 ปี

ความจริงแล้วในช่วงสมัยของประธานาธิบดี นายวิลเลียม คลินตัน ได้มีการลดฐานะการขาดดุลการคลังจนหมดไปแล้ว แต่ในสมัยของประธานาธิบดี จอร์จ บุช(ลูก) สหรัฐอเมริกา ได้เริ่มมีการขาดดุลการคลังมาอย่างต่อเนื่อง เพราะมีรายจ่ายเรื่องสงครามในตะวันออกกลาง และเรื่องการดูแลรักษาความปลอดภัยประเทศ ภายหลังเหตุวินาศกรรมวันที่ 11 เดือนกันยายน ค.ศ. 2001

การชดเชยการขาดดุลการคลังนั้นจะมาจาก 2 แหล่งที่สำคัญ คือ หนึ่งการ***้ยืมเงินจากภายในประเทศ หรือจากต่างประเทศโดยการออกตราสารหนี้ (ประเภทพันธบัตรรัฐบาล) ซึ่งหมายถึงว่ารัฐบาลจะต้องเสนออัตราดอกเบี้ย ในอัตราที่จูงใจ  และสองการปรับขึ้นอัตราภาษีสำหรับมาชดเชยการขาดดุล

ซึ่งทั้งสองวิธีเป็นสิ่งที่ไม่สร้างคะแนนนิยมให้กับนักการเมือง

ดังนั้นจึงได้มีการโยงเอาประเด็นว่าถ้าหากพรรคเดโมแครตได้รับชัยชนะเสียงข้างมากในรัฐสภา ก็จะมีแนวโน้มที่จะผ่านร่างกฎหมาย ในการปรับขึ้นอัตราภาษี ซึ่งสำหรับชาวอเมริกันชนแล้วจะค่อนข้างอ่อนไหว ต่อการใช้จ่ายเงินภาษีของประชาชนค่อนข้างมาก

ปัญหาทางเศรษฐกิจประการที่สอง ที่มีการพูดถึงกันค่อนข้างมากคือ นโยบายเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว สหรัฐอเมริกามีแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามาในประเทศ และแย่งงานของชาวอเมริกันจำนวนมาก ที่ในปัจจุบันได้ประมาณการกันว่ามีแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายอยู่สูงถึงประมาณ 11 ล้านคน (จากจำนวนประชากรสหรัฐอเมริกาทั้งหมด ประมาณ 300 ล้านคน)

ซึ่งแรงงานเหล่านี้ส่วนใหญ่จะลักลอบผ่านเข้ามาทางพรมแดนเม็กซิโก เนื่องจากเป็นแรงงานที่เข้าประเทศผิดกฎหมาย จึงยอมรับค่าแรงที่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ รวมทั้งไม่มีสิทธิเรียกร้องสวัสดิการหรือผลประโยชน์อื่นๆ จากนายจ้างได้ จึงทำให้มีความนิยมจ้างแรงงานต่างประเทศมากขึ้น

ปัญหาแรงงานต่างด้าวนี้มีแรงกดดัน และสร้างความไม่พอใจให้กับชาวอเมริกันเป็นอันมาก ไม่เฉพาะแรงงานที่ถูกแย่งงาน แต่ประชาชนระดับกลางที่ไม่พอใจว่า เงินภาษีนั้นถูกนำมาให้บริการสวัสดิการศึกษา ตลอดจนการรักษาพยาบาลคนงานต่างด้าว และครอบครัวความไม่พอใจที่เพิ่มมากขึ้นนี้รุนแรงจนถึงขั้นรัฐบาลจะเสนอการผ่านร่างกฎหมาย ที่จะสร้างรั้วกำแพงระหว่างพรมแดนสหรัฐอเมริกา และเม็กซิโก

ประเด็นโจมตีการบริหารงานของประธานาธิบดีจอร์จ บุช นั้นได้มีการนำมาเผยแพร่อย่างกว้างขวางผ่านสื่อต่างๆ และสะท้อนว่าเมื่อเศรษฐกิจชะลอตัวเรื่องต่างๆ ก็จะถูกนำมาเป็นประเด็นทางการเมือง และเดือดร้อนถึงหลังบ้านที่ทั้งสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง และภริยาของรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา ต้องออกมาให้สัมภาษณ์ทางโทรทัศน์ เพื่อช่วยเรียกคะแนนเสียงให้กับสามี และในบทสรุปก็คือ เมื่อเศรษฐกิจมีปัญหาการเมืองก็จะมีปัญหาตามไปด้วย

ผู้แสดงความคิดเห็น musashi วันที่ตอบ 2006-11-04 12:56:44 IP : 61.47.104.50


ความคิดเห็นที่ 2 (444192)
กสิกรไทยแนะวิธีรับมือบาทแข็ง เลิกยึดติดดอลลาร์สหรัฐ... ถือเงินสกุลปท.คู่ค้า

มติชนรายวัน  วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10461

**หมายเหตุ** เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2549 ธนาคารกสิกรไทย แถลงเรื่อง "ค่าเงินบาทแข็ง ธุรกิจทำอย่างไร" ที่ธนาคารกสิกรไทย สำนักพหลโยธิน โดยนายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ และนายธิติ ตันติกุลานันท์ สองผู้บริหารธุรกิจตลาดทุน ร่วมกันแถลง

ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ค่าเงินบาทมีความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนมากพอสมควร และมีแนวโน้มแข็งค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ทุนสำรองระหว่างประเทศยังได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ บางปีปรับเพิ่มขึ้นถึง 10% หรือมากกว่านั้น เหตุผลสำคัญคือเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศตลอดระยะเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมา

เงินทุนไหลเข้าเกิดจาก 2 ปัจจัยหลัก คือเงินที่ไหลเข้ามาเพื่อลงทุนจริง (General Flow) และเงินที่ไหลเข้ามาเพื่อเก็งกำไร (Speculative Flow) ส่วนการที่ปีนี้มีเงินทุนไหลเข้าจำนวนมาก เกิดจากช่วงต้นปีมีดีลการซื้อขายบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และมีการร่วมทุนระหว่างธนาคารกรุงศรีอยุธยา กับบริษัท จีอี แคปปิตอล จำกัด ทำให้ต่างประเทศต้องซื้อเงินบาท และขายเงินดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไม่มีความต้องการให้เงินบาทมีความผันผวนมากนัก จึงต้องดำเนินการขายเงินบาทเพื่อซื้อเงินดอลลาร์ ทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

นอกจากนี้ประเทศสหรัฐอเมริกายังมีแนวโน้มว่าธุรกิจจะไม่ขยายตัวเร็วอย่างที่คาดการณ์ไว้ หรืออาจมีการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ทำให้สหรัฐส่งสัญญาณว่าอาจจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและมีแนวโน้มที่จะปรับลดดอกเบี้ยลงในปี 2550 ดังนั้น เงินจึงไหลเข้าสู่ประเทศแถบเอเชียมากขึ้น เช่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และไทย เพราะต่างประเทศมองว่า ยังมีมูลค่าการลงทุนอยู่ในระดับต่ำ และมีสิทธิที่จะแข็งค่าขึ้นได้อีกในอนาคต ส่งผลให้ค่าเงินบาทมีโอกาสที่จะแข็งค่าขึ้นได้อีก แต่อาจมีการอ่อนค่าลงในช่วงสั้นๆ จากผลกระทบใกล้ตัว เช่น การที่เทมาเส็กจะปรับลด***ส่วนการลงทุนในบริษัทชินคอร์ป แต่ในระยะยาวจะมีการแข็งค่าขึ้น โดยคาดว่าจะแข็งขึ้นถึงระดับ 36.20 บาทต่อดอลลาร์ ภายในสิ้นปีนี้ เนื่องจากมีเงินทุนไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยเพิ่มขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองดีขึ้น ทำให้ความมั่นใจของนักลงทุนกลับมาในช่วงปลายปี นอกจากนี้อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน ยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องรอดูตัวเลขการส่งออก และการท่องเที่ยวของประเทศในไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 ด้วยว่าจะได้รับผลกระทบจากอุทกภัยมากน้อยเพียงใด เพราะอาจส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรม ทำให้การส่งออกมีปริมาณลดลง

ทั้งนี้ ได้มีการคาดการณ์ว่าค่าเงินบาทเฉลี่ยในปีนี้จะอยู่ที่ระดับ 37-39 บาทต่อดอลลาร์ โดยปัจจุบันเงินบาทได้มีการปรับฐานใหม่ ทำให้หลังจากนี้เงินบาทจะปรับขึ้นลงอยู่ในช่วง 36.50-37.50 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ค่าเงินบาทเฉลี่ยในปีหน้าอยู่ที่ระดับ 35-38 บาทต่อดอลลาร์

ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ธปท. แนะนำให้ธุรกิจบริหารจัดการความเสี่ยงให้มากขึ้น แต่ในทางกลับกันจำนวนลูกค้า ที่มีการจัดการบริหารความเสี่ยง เช่น การทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า ไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้น โดยยังคงมี***ส่วนเท่ากับปีที่ผ่านมาคือ ลูกค้าธุรกิจขนาดต่ำกว่า 400 ล้านบาท มีการบริหารจัดการความเสี่ยง 10% ลูกค้าธุรกิจขนาด 400-5,000 ล้านบาท มีการบริหารจัดการความเสี่ยง 30% และลูกค้าธุรกิจขนาดตั้งแต่ 5,000 ล้านบาทขึ้นไป มีการบริหารจัดการความเสี่ยง 40% ของจำนวนลูกค้าทั้งหมด

**แนวโน้มปี 2550

ในปี 2550 ความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนจะไม่แตกต่างจากปีนี้มากนัก โดยอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างน้อย 2-3 บาท อย่างไรก็ตาม ยังขึ้นอยู่กับทิศทางอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ และอัตราดอกเบี้ยของประเทศไทยด้วยว่าจะมีการปรับลดลงหรือไม่ เพราะจะเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดทิศทางของค่าเงินบาท หากไม่มีการปรับลดลงของอัตราดอกเบี้ย ในปี 2550 ก็มีโอกาสที่จะได้เห็นค่าเงินบาทแข็งขึ้นถึงระดับ 35 บาทต่อดอลลาร์ได้ แต่หากธนาคารกลางสหรัฐไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ย แต่อัตราดอกเบี้ยในประเทศมีการปรับลดลงทำให้ส่วนต่างห่างกันเกินกว่า 1% จะทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลง ซึ่งส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยนโยบายของประเทศไทยและสหรัฐ ในขณะนี้ที่แตกต่างกัน 0.25% จะยังไม่ส่งผลต่อเงินทุนไหลเข้า-ออก

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นจะส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออก แต่ในขณะเดียวกัน จะส่งผลดีต่ออัตราเงินเฟ้อ ที่จะปรับลดลง เนื่องจากปริมาณเงินที่นำเข้าน้ำมันจะลดลงด้วย ซึ่งโดยภาพรวมผู้ส่งออกจะได้รับผลกระทบน้อยกว่าการนำเข้า ทั้งนี้เงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ไม่ได้เกิดเฉพาะกับประเทศไทยเพียงประเทศเดียวแต่ยังเกิดขึ้นกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคด้วย แต่อัตราการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทสูงกว่าเงินสกุลอื่นตั้งแต่ช่วงต้นปี โดยแข็งค่ากว่าเงินวอน เงินดอลลาร์สิงคโปร์ และเงินรูเปี๊ยะ ประมาณ 4% และแข็งค่ากว่าเงินเยน 10% แข็งค่ากว่าเงินหยวน 8% และแข็งค่ากว่าเงินดอลลาร์ฮ่องกง 10% นอกจากนี้ในปีหน้าค่าเงินหยวนของประเทศจีนอาจมีการแข็งค่าขึ้นประมาณ 5-7% ซึ่งเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย

**ทางออกธุรกิจไทย

นอกเหนือจากการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า ผู้ส่งออกควรพิจารณาถึงประเทศคู่ค้าของตนเองด้วย หากประเทศคู่ค้าไม่ใช่ประเทศสหรัฐ ผู้ส่งออกควรกำหนดอัตราอ้างอิงกับเงินสกุลของประเทศคู่ค้าของตนเองแทนการอ้างอิง กับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ เพราะปัจจุบัน***ส่วนการส่งออกสินค้าได้กระจายออกไปในประเทศต่างๆ โดยการส่งออกไปประเทศสหรัฐ มี***ส่วนที่ลดลงเหลือเพียง 40% เท่านั้น นอกจากนี้ควรจะปรับรายรับ และรายจ่าย ให้ตรงกับเงินสกุลของประเทศคู่ค้า เช่น ลูกค้าที่มีเงิน***้กับธนาคารและมีรายรับเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ควรปรับการขอเงิน***้จากสกุลบาทเป็นดอลลาร์สหรัฐ โดยชำระคืนเงิน***้ให้กับธนาคารเป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐแทน หรือลูกค้าที่มีคู่ค้าคือประเทศญี่ปุ่น ก็ควรที่จะขอ***้เงินเป็นสกุลเยน ซึ่งจะช่วยลดภาระการชำระหนี้ในช่วงที่ค่าเงินผันผวนลง

ทั้งนี้ ปัจจุบันมีลูกค้าที่ปรับเงิน***้เป็นสกุลเดียวกับรายรับจากการส่งออกยังมีน้อยมาก เนื่องจากลูกค้ายังคุ้นเคยกับการเก็งกำไรค่าเงิน และผู้ส่งออกยังปรับตัวไม่ได้จากการที่อัตราแลกเปลี่ยน ทำให้กำไรลดลงมากกว่าที่คิดไว้ และหาคำตอบไม่ได้ว่าจุดคุ้มทุนอยู่ในระดับใด จะต้องบริหารความเสี่ยงอย่างไร รวมทั้งไม่เข้าใจการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนว่ามีวิธีการอย่างไร ซึ่งธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่ง ต้องเร่งสร้างความเข้าใจให้กับภาคธุรกิจเพราะ ธปท.ไม่สามารถบังคับให้ภาคธุรกิจ ต้องมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้

อย่างไรก็ตาม ธปท.คงจะไม่ใช้นโยบายปรับลดอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน (อาร์/พี) มาเป็นเครื่องมือ ในการปกป้องค่าเงินบาท เพราะต้องการให้เป็นไปตามธรรมชาติเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบทั้งต่อผู้นำเข้าและส่งออก ซึ่งในช่วงต้นปีหน้าก็ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรีบร้อนปรับดอกเบี้ยลง เพราะหากอัตราดอกเบี้ยเงิน***้ปรับลดลงแต่พอร์ตสินเชื่อ ไม่ขยายเพิ่มขึ้นจะไม่ส่งผลดีต่อสินเชื่อของธนาคาร

หน้า 20

ผู้แสดงความคิดเห็น musashi วันที่ตอบ 2006-11-04 12:58:45 IP : 61.47.104.50


ความคิดเห็นที่ 3 (713222)
ผู้แสดงความคิดเห็น _ ›ำ^๖ฝขถ จ วันที่ตอบ 2007-07-18 14:55:52 IP : 203.146.127.159


ความคิดเห็นที่ 4 (748559)
ผู้แสดงความคิดเห็น _ ›ำ^๖ฝขถ จ วันที่ตอบ 2007-08-24 17:14:15 IP : 203.146.127.179



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.