ReadyPlanet.com


เปิดกลยุทธ์เฟ้นหุ้น ‘รวยแบบยั่งยืน’ ตามแนวรัฐบาลพอเพียง


เปิดกลยุทธ์เฟ้นหุ้น ‘รวยแบบยั่งยืน’ ตามแนวรัฐบาลพอเพียง
‘โปร่งใส’ -‘เป็นธรรม’- ‘ประหยัด’- ‘ประสิทธิภาพ’


                   เมื่อรัฐบาล ‘ฒ.ผู้เฒ่า’ ประกาศขับเคลื่อนประเทศด้วยนโยบาย
เศรษฐกิจพอเพียง หลายคนร้อง ‘ว้า’ ด้วยอาการผิดหวัง (ปนเซ็ง) เนื่องจากไม่เข้าใจ
ว่า เศรษฐกิจพอเพียงที่ ‘ฒ.ผู้เฒ่า’ ท่านหมายถึงนั้นคืออะไร เพียงแต่ได้ยินคำว่า ‘พอ
เพียง’ ก็จินตนาการไปเองก่อนแล้วว่า ต้องดำเนินชีวิตอย่าง ‘ตระหนี่’ หรือ ค่อนไป
ทาง ‘เขียม’ จนหาความสุขทางโลกแทบไม่ได้ ซึ่งอันที่จริงหากเราเข้าใจหลักการที่
แท้จริงของเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว แทนที่จะกังวล เรากลับจะมีความสุขยิ่งขึ้นด้วยซ้ำ
เนื่องจากความพอเพียงอันเป็นหัวใจแห่งความยั่งยืนจะช่วยชะลอความแก่ของ
ประเทศชาติ หรือ แม้แต่ของโลกเลยทีเดียว ทุกวันนี้เราต่างก็ทราบดีอยู่แล้วว่า
มหันตภัยที่เกิดจากธรรมชาติและที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ล้วนแล้วแต่เป็นผลมาจากการ
พัฒนาแบบ ‘ฉาบฉวย’ หรือ ‘ใช้แล้วทิ้ง’ ทั้งนั้น ซึ่งหากไม่หาสิ่งใดมาชะลอไว้บ้าง
โลกคงเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเป็นแน่
                    หลายคนสงสัยว่า ความพอเพียง กับ การลงทุนในตลาดหุ้น จะไปกัน
ได้หรือ เนื่องจากแว่บแรกที่คนทั่วไปนึกถึงตลาดหุ้นย่อมมองเห็นภาพของการแก่ง
แย่งแข่งขัน ชิงไหวชิงพริบ หรือโกหกหลอกลวงกันอลหม่าน แต่ในความเป็นจริงนั้น
หลักแห่งความพอเพียงคืออาวุธที่จะช่วยให้นักลงทุนทั้งหัวดำ หัวทอง ขาใหญ่ ขา
เล็ก หรือแม้แต่ขาลีบเอาชนะทะเลหุ้นอันมีแต่มรสุมได้อย่างยั่งยืนแถมไม่ต้องเป็นโรค
เครียด หรือ โรคหัวใจด้วย ซึ่งมีเคล็ดลับสำคัญอยู่ที่กลยุทธ์การเลือกเฟ้นหุ้นตามแนว
พอเพียงของรัฐบาล ‘ฒ.ผู้เฒ่า’ อันควรเคารพยิ่งนั่นเอง
                     รัฐบาล ‘พันหกร้อยปี’ ของเราได้กำหนดหลักการบริหารประเทศไว้ 4
ประการ หรือ เรียกว่าหลัก 4 ป.ได้แก่ โปร่งใส เป็นธรรม ประหยัดและประสิทธิภาพ
อันหลัก 4 ป.นี้ไม่เพียงแต่สามารถนำไปใช้ในการกำกับดูแลกิจการบ้านเมืองเท่านั้น
แต่ยังสามารรถใช้เป็นกลยุทธ์การเลือกเฟ้นหุ้นที่จะช่วยให้ผ่านพ้นทุกมรสุมในตลาด
หุ้นได้อีกด้วย ซึ่งมีข้อแม้ว่า ต้องเลือกหุ้นที่มีองค์ประกอบครบ 4 ประการตามหลัก
บริหารบ้านเมืองของรัฐบาลพอเพียง จึงจะรับประกันความร่ำรวยแบบยั่งยืนได้
                   เริ่มจากหุ้นตัวนั้นต้องโปร่งใส ซึ่งถือเป็นหัวใจของหลักการ ‘เฟ้นหุ้น
รวยยั่งยืน’ หากการซื้อหุ้นคือการมีส่วนเป็นเจ้าของบริษัทย่อมสบายใจกว่าแน่ที่จะมี
คนดีๆอยู่ในบริษัท และโดยเฉพาะบุคคลที่มีอำนาจตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผล
ประโยชน์ของบริษัทซึ่งมีถือหุ้นน้อยใหญ่ร่วมเป็นเจ้าของยิ่งต้องเป็นคนมีคุณธรรม
สูง ‘วอร์เรน บัฟเฟตต์’ มหาเศรษฐีพอเพียงที่ประกาศบริจาคเงินกว่า 7 หมื่นล้าน
เหรียญที่หามาได้ด้วยสติปัญญาและน้ำพักน้ำแรงเคยกล่าวไว้ว่า ‘บริษัทที่ดีนั้นจะ
บอกความจริงทุกอย่างกับคุณ’ นี่คือกฎทองแห่งการเฟ้นหาบริษัทที่โปร่งใส ซึ่งนักลง
ทุนที่พอมีประสบการณ์ในตลาดหุ้นคงพอนึกออกว่า มีบริษัทใดบ้างที่มีความตรงไป
ตรงมากับผู้ถือหุ้นกล้าบอกความจริงทั้งข่าวดีและข่าวร้าย รวมทั้งไม่เคยมีประวัติด่าง
พร้อย ไม่เคยมีกรณีที่ผู้สอบบัญชีเกิดข้อกังขา ไม่เคยมีประวัติว่ากลต.ต้องเรียกให้ชี้
แจงข้อสงสัยต่างๆ และที่สำคัญคือเป็นบริษัทที่แทบจะไม่มีข่าวลือมาให้ขวัญหนีดีฝ่อ
หรือดีใจจนขาดสติ อย่างไรก็ดี หากต้องการรวยยั่งยืน แม้เจอบริษัทที่มี‘น้ำงาม’อย่าง
นี้ ก็อย่าเพิ่งด่วนซื้อ เนื่องจากยังมีคุณสมบัติอีก 3 ประการที่ต้องพิจารณาต่อไป
                  เมื่อเจอบริษัทโปร่งใสแล้ว ไม่ควรด่วนสรุปว่านั่นเป็นบริษัทที่มีความ
เป็นธรรมด้วย เนื่องจากความโปร่งใสกับความเป็นธรรมนั้นมีบางส่วนที่ยังเหลื่อมกัน
อยู่ กล่าวคือบริษัทที่มีความโปร่งใสย่อมเปิดเผยข้อเท็จจริงต่างๆให้ผู้ถือหุ้นทราบ
อย่างตรงไปตรงมาและสามารถตรวจสอบได้ แต่บางครั้งเมื่อเผชิญกับความยาก
ลำบาก แม้จะยังคงความโปร่งใสไว้ได้ แต่กลับหาทางออกด้วยวิธีที่ทำให้ผู้ถือหุ้น
เดือดร้อน เช่น บางบริษัทไม่เคยกระดากอายที่จะขอเพิ่มทุนบ่อยๆ หรือ
บางบริษัทออกหุ้นเพิ่มทุนให้พันธมิตรใหม่ในราคาส่วนลด ขณะที่ยังมีอีกหลายบริษัท
ที่มีกำไรแค่หยิบมือ แต่ผู้บริหารกินเงินเดือนเกือบจะสูงกว่ากำไรสุทธิทั้งปี แถมไม่
เคยประกาศลดเงินเดือนตัวเองเสียที ‘ปีเตอร์ ลินซ์’ผู้สร้างตำนานไว้กับกองทุนฟิเด
ลลิตี้แมคเจนแลนกล่าวว่า ‘บริษัทที่ดีบางครั้งอาจมีความจำเป็นทางการเงิน แต่ทุก
ครั้งเขาจะไม่ทำให้ผู้ถือหุ้นลำบาก’ บริษัทที่แม้จะโปร่งใสแต่สุดท้ายทำให้ผู้ถือหุ้น
ลำบากและตกเป็นเหยื่อของการบริหารจัดการที่ล้มเหลวย่อมไม่มีทางอยู่ในพอร์
ตของนักลงทุนผู้หวังรวยแบบยั่งยืน
                 หลักข้อที่ 3 สู่ความรวยแบบยั่งยืนคือ หลัก ‘ป.ประหยัด’ เนื่องจากใน
โลกธุรกิจไม่เพียงแต่จะเอาชนะกันในด้านนวัตกรรมและการครองส่วนแบ่งตลาดเท่า
นั้น ‘ต้นทุน’ ยังเป็นอีกหนึ่งสมรภูมิที่แต่ละบริษัทพยายามช่วงชิงความได้เปรียบเหนือ
คู่แข่ง ต้นทุนที่ต่ำย่อมหมายถึงกำไรที่สูงต่อให้ยอดขายไม่สูงเท่าคู่แข่งแต่หากบริหาร
กิจการจนมีต้นทุนต่ำกว่าใครย่อมดีกว่ามีรายได้มากแต่พอหักต้นทุนแล้วแทบไม่เหลือ
กำไร การเฟ้นหุ้นที่มีต้นทุนต่ำนั้นต้องอาศัยการเปรียบเทียบระหว่างบริษัทใน
อุตสาหกรรมเดียวกัน เช่น หลังจากที่ค้นพบหุ้นโปร่งใสและเป็นธรรมซึ่งอยู่ในธุรกิจ
เดียวกันมาได้ 2 ตัว นักลงทุนที่มีเป้าหมายรวยแบบยั่งยืนต้องพิจารณาว่า หุ้นตัวใดมี
อัตรากำไรขั้นต้นจากธุรกิจหลักสูงกว่า ขอเน้นว่าต้องตัดกำไรพิเศษออกไปก่อนเพื่อ
ไม่ให้เกิดภาพลวงตา เท่านั้นยังไม่พอนักลงทุนที่ยึดแนวทางรวยแบบยั่งยืนยังต้อง
เปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ หรือ ROA (Return on Asset) เพื่อดูว่า
บริษัทใดมีความสามารถในการทำกำไรเหนือกว่า และหากไม่แน่ใจว่าเป็นบริษัทที่
ประหยัดและไม่ทำอะไรเกินตัวจริงต้องดูที่อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน หรือ D/E
(Debt/Equity) ประกอบด้วย แถมด้วยอีกหนึ่งเคล็ดลับที่จะประเมินอุดมการณ์
ประหยัดของบริษัทรวยยั่งยืน นั่นคือต้องเลือกบริษัทที่ไม่มีนโยบายสร้างภาพซึ่งเป็น
การผลาญเงินของผู้ถือหุ้นดีดีนั่นเอง ดังเช่นครั้งหนึ่งที่ปีเตอร์ ลินซ์ได้กล่าวไว้
ว่า ‘เหตุผลที่ผมไม่ซื้อ(หุ้น)บริษัทนี้ก็คือเขาใช้พื้นหินอ่อนจากอิตาลีและพรมเปอร์
เซียเกรดเอ’
                  มาถึงหลักการเฟ้นหุ้นรวยแบบยั่งยืนข้อสุดท้ายว่าด้วย ป.ประสิทธิภาพ
ซึ่งในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานปีพ.ศ.2542 ให้ความหมายไว้ว่า ความ
สามารถที่จะทำให้เกิดผลสำเร็จในการทำงาน เมื่อใช้ความหมายนี้ในการเฟ้นหุ้นมี
ประสิทธิภาพคงจะช่วยให้พอแยกแยะออกว่า บริษัทใดมีแต่ความเพ้อฝันและบริษัท
ใดคือ ‘ของจริง’ ผลสำเร็จแห่งการทำงานนั้นย่อมหมายถึงการบรรลุเป้าหมายตามวิสัย
ทัศน์ที่บริษัทวางไว้เป็นเข็มทิศชี้ทาง ขณะที่แนวทางหรือนโยบายการบริหารจัดการ
นั้นคือเครื่องบ่งชี้ว่าบริษัทนั้นจะมีความสามารถในการไปสู่เป้าหมายหรือวิสัยทัศน์
มากน้อยเพียงใด การวัประสิทธิภาพของบริษัทนั้นทำได้โดยการเปรียบเทียบความ
จริงกับความฝันของบริษัท เริ่มจากไตร่ตรองดูวิสัยทัศน์ก่อนว่า ตั้งขึ้นมาเพื่อทำให้ได้
จริงหรือพยายามขายฝัน จากนั้นให้พิจารณาสิ่งที่บริษัทเป็นอยู่ในปัจจุบันแล้ว
วิเคราะห์ว่า บริษัทได้ดำเนินการในสิ่งที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการไปสู่เป้าหมายนั้นๆ
หรือไม่ เช่น บริษัทในอุตสาหกรรมอาหารรายหนึ่งมีวิสัยทัศน์ว่า ต้องการเป็นผู้
จำหน่ายอาหารทะเลรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเซีย ก็ให้ติดตามดูว่า บริษัทพยายาม
ทำสิ่งที่จำเป็นต่อการบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ด้วยความทุ่มเทมากน้อย
เพียงใด หากบริษัทดังกล่าวทุ่มงบลงทุนในด้านพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน
เพื่อให้ประเทศผู้นำเข้าทุกแห่งยอมรับ พร้อมกับศึกษาความเคลื่อนไหวของคู่แข่ง
และติดตามความต้องการของผู้บริโภคอย่างใกล้ชิดก็นับได้ว่าเป็นบริษัทที่มี
ประสิทธิภาพสูงแห่งหนึ่ง แต่หากบริษัทใช้เงินทุนไปกับการเข้าไปถือหุ้นนอก
อุตสาหกรรมที่ตัวเองถนัดด้วยหวังรวยจากราคาในช่วงสั้นๆ ไม่เอาใจใส่กิจการหลักที่
มีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว หรือ ริข้ามห้วยไปสู่อุตสาหกรรมที่กำลังอยู่ในกระแสหาก
เจอบริษัทที่ละทิ้งวิสัยทัศน์กลางคันแบบนี้ สรุปได้เลยว่า คณะผู้บริหารต้องเป็นพวก
ไร้ประสิทธิภาพที่ชอบทำงานแบบ‘กลัวเสียเหงื่อ’ นักลงทุนผู้ยึดแนวทางรวยแบบ
ยั่งยืนพึงหลีกเลี่ยงบริษัทประเภทนี้อย่างยิ่ง
                   ก่อนจะจากกันไปขอย้ำอีกครั้งว่า การเลือกหุ้นให้รวยอย่างยั่งยืนนั้น
ต้องกลั่นกรองให้ดีเสมือนกระบวนการกรองน้ำสำหรับดื่มดับกระหายที่ต้องการความ
สะอาด ดื่มแล้วไม่เป็นพิษต่อร่างกาย ดังนั้น ก่อนซื้อหุ้น หากไม่ต้องการหุ้นพิษที่เป็น
โทษทั้งต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกระเป๋า ต้องบริหารกล้ามเนื้อสมองด้วยการนำหลัก
การเฟ้นหุ้นรวยแบบยั่งยืนไปพิจารณาว่าหุ้นที่เลือกจะลงทุนนั้นมีคุณสมบัติ ‘โปร่ง
ใส’ ‘เป็นธรรม’ ‘ประหยัด’ และ ‘ประสิทธิภาพ’ครบถ้วนหรือไม่ และควรกำหนดเป็น
วินัยเคร่งครัดว่า หากหุ้นที่อยากลงทุนมีคุณสมบัติขาดไปจากหลักดังกล่าวข้อใดข้อ
หนึ่งต้องไม่เข้าไปแตะต้องเด็ดขาด เพราะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าหุ้นที่มีองค์ประกอบไม่
ครบตามหลักการนี้จะก่อปัญหาอะไรบ้างในอนาคต ส่วนหุ้นที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตาม
หลัก 4 ป.ที่กล่าวมานี้มีอยู่ในตลาดหุ้นของบ้านเราไม่น้อยทีเดียว และได้ทำให้นักลง
ทุนที่มีวินัยหลายคนรวยแบบยั่งยืนไปแล้วหลายราย



By : วรเชษฐ์ พันธ์ภูวงศ์


ผู้ตั้งกระทู้ Somchai & Son โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2006-11-01 13:51:29 IP : 58.136.71.197


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (713228)
ผู้แสดงความคิดเห็น _ ›ำ^๖ฝขถ จ วันที่ตอบ 2007-07-18 14:55:55 IP : 203.146.127.159


ความคิดเห็นที่ 2 (748551)
ผู้แสดงความคิดเห็น _ ›ำ^๖ฝขถ จ วันที่ตอบ 2007-08-24 17:13:42 IP : 203.146.127.179



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.