ReadyPlanet.com


เปิด18หุ้นอันตราย เข้าข่ายฟอร์ซเซล


เปิด18หุ้นอันตราย เข้าข่ายฟอร์ซเซล
Source - ข่าวหุ้น (Th)

Thursday, October 30, 2008  04:07
61862 XTHAI XECON XFINMKT XBANK V%PAPERL P%KHD

          กรุงเทพฯ--30 ต.ค.--ข่าวหุ้น

          เปิดโผ 18 หุ้นอันตราย เข้าข่ายถูกฟอร์ซเซล หากดัชนีปรับตัวลงอีก ตะลึงพบจำนวนหุ้นที่ถูกซื้อโดยมาร์จิ้น หรือนำไปเป็นหลักประกันจำนวนมาก ระวังโดมิโน เหมือนครั้งที่หุ้นกลุ่ม TUCC-RICH-BWG ร่วงหนัก หลังถูกบังคับขาย
          จากข้อมูลของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์(TSFC) ประจำเดือนกันยายน 2551ระบุ ว่ามีหลักทรัพย์หลายตัวที่มีการซื้อโดยเงินกู้ยืม(มาร์จิ้น) และหุ้นกลุ่มเดียวกันนี้มีการถูกนำไปค้ำประกันเพื่อขอวงเงินในการซื้อหลักทรัพย์ตัวอื่นๆ ในปริมาณสูง มีดังนี้
          1.หุ้น SSE มีจำนวนหุ้นที่ถูกซื้อโดยมาร์จิ้น หรือถูกนำไปเป็นหลักประกัน จำนวน2,051 ล้านหุ้น
          2.หุ้น JAS มีจำนวนหุ้นที่ถูกซื้อโดยมาร์จิ้น หรือถูกนำไปเป็นหลักประกันจำนวน 1,896 ล้านหุ้น
          3.หุ้น EMC มีจำนวนหุ้นที่ถูกซื้อโดยมาร์จิ้น หรือถูกนำไปเป็นหลักประกันจำนวน 1,800.68 ล้านหุ้น
          4.หุ้นHEMRAJ มีจำนวนหุ้นที่ถูกซื้อโดยมาร์จิ้น หรือถูกนำไปเป็นหลักประกัน จำนวน 1,706 ล้านหุ้น
          5.หุ้น RICH มีจำนวนหุ้นที่ถูกซื้อโดยมาร์จิ้น หรือถูกนำไปเป็นหลักประกันจำนวน 1,584 ล้านหุ้น
          6. หุ้น ASL มีจำนวนหุ้นที่ถูกซื้อโดยมาร์จิ้น หรือถูกนำไปเป็นหลักประกัน จำนวน 983 ล้านหุ้น
          7.หุ้น TKS มีจำนวนหุ้นที่ถูกซื้อโดยมาร์จิ้น หรือถูกนำไปเป็นหลักประกัน จำนวน 666.6 ล้านหุ้น
          8.หุ้น TMB มีจำนวนหุ้นที่ถูกซื้อโดยมาร์จิ้น หรือถูกนำไปเป็นหลักประกัน จำนวน537 ล้านหุ้น
          9.หุ้น SHIN มีจำนวนหุ้นที่ถูกซื้อโดยมาร์จิ้น หรือถูกนำไปเป็นหลักประกัน 493ล้านหุ้น
          10.หุ้นGJS มีจำนวนหุ้นที่ถูกซื้อโดยมาร์จิ้น หรือถูกนำไปเป็นหลักประกันจำนวน 699ล้านหุ้น
          11.หุ้น TWZ มีจำนวนหุ้นที่ถูกซื้อโดยมาร์จิ้น หรือถูกนำไปเป็นหลักประกันจำนวน 397ล้านหุ้น
          12.หุ้น GEN มีจำนวนหุ้นที่ถูกซื้อโดยมาร์จิ้น หรือถูกนำไปเป็นหลักประกัน จำนวน 250 ล้านหุ้น
          13.หุ้น SAMART มีจำนวนหุ้นที่ถูกซื้อโดยมาร์จิ้น หรือถูกนำไปเป็นหลักประกันจำนวน 219 ล้านหุ้น
          14.หุ้น MILL มีจำนวนหุ้นที่ถูกซื้อโดยมาร์จิ้น หรือถูกนำไปเป็นหลักประกัน จำนวน 224ล้านหุ้น
          15.หุ้น YNP มีจำนวนหุ้นที่ถูกซื้อโดยมาร์จิ้น หรือถูกนำไปเป็นหลักประกัน จำนวน 225 ล้านหุ้น
          16.หุ้น RS มีจำนวนหุ้นที่ถูกซื้อโดยมาร์จิ้น หรือถูกนำไปเป็นหลักประกัน จำนวน 225 ล้านหุ้น
          17.หุ้น NCH มีจำนวนหุ้นที่ถูกซื้อโดยมาร์จิ้น หรือถูกนำไปเป็นหลักประกัน จำนวน 226ล้านหุ้น
          18. หุ้น ESTAR มีจำนวนหุ้นที่ถูกซื้อโดยมาร์จิ้น หรือถูกนำไปเป็นหลักประกัน 183ล้านหุ้น นอกจากนี้ยังมีหุ้น LIVE กับ IEC แต่หุ้นทั้ง 2 ตัวถูกฟอร์ซเซลไปหมดแล้ว
          แหล่งข่าวจากโบรกเกอร์ กล่าวว่า ปริมาณหุ้นที่ถูกซื้อโดยมาร์จิ้น หรือ ถูกนำไปเป็นหลักประกันเพื่อขอวงเงินมาร์จิ้นนั้น ถือว่ามีความเสี่ยงมาก โดยเฉพาะหุ้นที่มีนักลงทุนรายย่อยถืออยู่มาก หรือมีสภาพคล่องเกิน 15 % ซึ่งมีโอกาสที่ราคาหุ้นจะปรับตัวลงแรง จากการถูกบังคับขายที่มีความเป็นไปได้สูงมาก
          "ตัวอย่างมีให้เห็นในหุ้นLIVE กับIEC แต่โชคดีที่หุ้นสองตัวนี้ถูกฟอร์ซเซลก่อน และคงไม่ต้องกังวลว่าหุ้นสองตัวนี้จะถูกฟอร์ซเซลอีก เพราะตอนนี้ส่วนใหญ่จะถูกบังคับใช้เงินสดซื้อทั้งนั้น จะเหลือก็เพียงแค่การประนอมหนี้กับโบรกเกอร์ที่ยังติดค้างกันอยู่เท่านั้น ซึ่งไม่เกี่ยวกับราคาหุ้นในกระดาน"แหล่งข่าวกล่าว
          ทั้งนี้ลักษณะดังกล่าวมีการซื้อแบบไขว้กัน โดยนำหุ้นตัวนั้นไปค้ำประกันกับหุ้นตัวนี้เวลามีปัญหาหรือตัวใดตัวหนึ่งถูกบังคับขายก็จะล้มเหมือนโดมิโน เหมือนกรณี ของTUCC,RICH ,BWG, METRO และ EWC ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
          นายกัมปนาท โลหเจริญวนิช กรรมการอำนวยการ บล.ทรีนีตี้ ในฐานะนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กล่าวว่า ปัญหาของการฟอร์ซเซลหุ้น เป็นเรื่องปกติที่โบรกเกอร์ต้องทำ เนื่องจากเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวโบรกเกอร์ และลูกค้าของบริษัท
          "สถานการณ์ตอนนี้ต้องบอกเลยว่าหุ้นเกือบทั้งหมด ถูกฟอร์ซเซล ไม่ว่าหุ้นเล็กหรือใหญ่ แต่ความเสี่ยงจะเกิดขึ้นกับใครนั้น คงต้องดู แต่สำหรับระบบแล้วยังไม่มีปัญหาอะไร"นายกัมปนาทกล่าว
          นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) กล่าวว่า ปัญหาการฟอร์ซเซล ยังมีอยู่ไม่มาก เนื่องจากวงเงินการขอมาร์จิ้นในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 2 หมื่นล้านบาท มีนักลงทุนที่ใช้บริการมาร์จิ้นจำนวน 4 พันบัญชี กระจายอยู่ทั้งหมด
          30 โบรกเกอร์
          "ปริมาณมาร์จิ้นที่อยู่ในระบบตอนนี้ที่มีมูลค่า 2 หมื่นล้านบาท ถือว่ายังไม่มาก เมื่อเทียบกับช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ที่มีจำนวนสูงถึง 2 แสนล้านบาท การใช้เกณฑ์ฟอร์ซเซล ถือเป็นการป้องกันความเสี่ยงให้กับตัวนักลงทุนและโบรกเกอร์ไม่ให้เกิดการเสี่ยงมากเกินไป"นางภัทรียากล่าว
          แหล่งข่าวจากผู้บริหารโบรกเกอร์ เปิดเผยว่า ความผันผวนของดัชนีตลาดหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมา ทำให้มีหลักทรัพย์หลายตัวที่ถูกบังคับขาย(ฟอร์ซเซล) ออกมา โดยเฉพาะหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าต่ำกว่า 1 บาท เนื่องจากราคาต่ำสุดสูงสุดมีค่าอยู่ที่ระดับ 100 % ในแต่ละวันเมื่อเทียบกับราคาปิดของวันก่อน
          "การที่หุ้นต่ำกว่า 1 บาท โอกาสปรับตัวขึ้นลงมีสูงถึง 100 % ในกรณีที่ปรับตัวขึ้น ถือว่าไม่มีปัญหา แต่การปรับตัวลงสามารถลงได้ต่ำถึงระดับ floor ที่ 0.01 บาท ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงที่โบรกเกอร์ต้องบังคับขายออกมา"แหล่งข่าวกล่าว


ผู้ตั้งกระทู้ dr_morky (dr_morky-at-hotmail-dot-com) กระทู้ตั้งโดยสมาชิก โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2008-10-30 22:26:34 IP : 58.64.81.217


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1860745)

หวัดดีครับ อาจาร์ย

  ผมส่งสัยว่าหุ้นแต่ละตัวเราจะสามารถรู้  ว่าหุ้นตัวที่เรา

สนใจนั้น มีจำนวนที่ถูกซื้อด้วยมาร์จิ้น มากน้อยเท่าไร

ขอบคุณมากครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น boonchana_pae (bcn_groups-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2008-11-06 22:14:18 IP : 117.47.96.108


ความคิดเห็นที่ 2 (1863998)

สำหรับการตรวจสอบ ยอดจำนวนหุ้นทั้งหมด ทีวางเป็นแบบมาจิ้นมีมากน้อยเท่าไหร่ จะค่อนข้างตรวจสอบยากครับ

เพราะขึ้นอยู่กับว่า หุ้นตัวนั้น มีการใช้เป็นหลักประกันสำหรับการกู้ยืมวงเงินมาจิ้น มากน้อยเท่าไรในแต่ละโบรกเกอร์

แต่จุดหนี่งที่จะสังเกตุได้ คือ การดูตารางหุ้น ในเวปไซด์ ของ tsfc.co.th  ว่ามีหุ้นที่สามารถใช้ในการวางหลักประกัน ได้มากน้อยเท่าไหร่ ดังเช่น ข้อมูลตารางหุ้นจาก ลิ้งด้านล่างนี้

http://www.tsfc.co.th/pdf/Marginable.pdf

ซึ่งหมายความว่า หุ้นที่มีการใช้วางหลักประกันในบัญชีมาจิ้น หากมีอยู่มากแล้ว ก็จะไม่มีการปล่อยมาจิ้นเพิ่ม ในพอร์ตของ TSFC จะเห็นได้จากมี เครื่องหมาย *** ต่อท้ายชื่อหุ้น ดังเช่น AKR, GSTEEL, HEMRAJ, SAMART, TCC ,YNP, JAS, MILL, GBX, APURE, ASL, BLISS, EMC, EWC เป็นต้น

 เนื่องจากพอร์ต TSFC เป็นพอร์ตที่ใหญ่ที่สุดเมื่อเทียบกับแต่ละโบรกเกอร์ นั่นแสดงว่า หุ้นนี้ ได้ถูกวางเป็นหลักประกันจน เต็มขีดจำกัดของแต่ละโบรกเกอร์ไปแล้ว และยังเต็มเพดานของ TSFC ด้วยอีก

ส่วนการประเมิณความเสี่ยงของหุ้น นั้นก็ดูได้จากตารางด้วยเช่นกัน ว่าหุ้นแต่ละตัว มีความเสี่ยงน้อย ก็จะจัดอยู่ในเกรด A  แต่ถ้าเสี่ยงมากขึ้น ก็จะอยู่ในระดับ C และ D ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น dr_morky (dr_morky-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2008-11-14 00:51:18 IP : 58.64.86.150



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.