ReadyPlanet.com


ตระ***ลรวย "เศรษฐีใหม่"


ตระ***ลรวย "เศรษฐีใหม่"
กรุงเทพธุรกิจรายสัปดาห์08 ก.ย.49

นอกจากท็อปเทน "ตระ***ลเศรษฐี" ของเมืองไทยอย่าง อยู่วิทยา, สิริวัฒนภักดี, เจียรวนนท์, ชินวัตร, โสภณพนิช, จิราธิวัฒน์ หรือเบญจรงคกุล หลายคนคงใคร่รู้ว่ามีตระ***ลไหนอีกบ้างที่ได้ชื่อว่า "รวยติดอันดับ" ของเมืองไทย

เมื่อปี 2548 นิตยสารฟอร์บส์จัดอันดับคนรวยที่ติดอันดับ 40 คนแรกของอาเซียน หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่ง 8 คนในจำนวนนั้นเป็นเศรษฐีไทย ซึ่งถือว่า "รวยเบ็ดเสร็จ" ด้วยมูลค่าความมั่งคั่งในระดับแสนล้านบาท ซึ่งต้องวงเล็บไว้ด้วยว่า เป็นความมั่งคั่งในที่โล่งแจ้ง เห็นได้ชัดๆ เช่น การถือครองหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ วนที่ลึกล้ำกว่านั้นฟอร์บส์คงล้วงไม่เจอ

คนแรกที่ติดอยู่ในชาร์ท 40 เศรษฐีอาเซียน คือ เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ซึ่งรั้งอยู่ในอันดับ 5 ฟอร์บส์ประเมินไว้ว่ามีความมั่งคั่งระดับ 3 พันล้านดอลลาร์ หรือ 120,000 ล้านบาท

อันที่จริงแม้จะได้ชื่อว่าเป็นเศรษฐีระดับท็อปของเมืองไทยมาเป็นเวลานาน แต่ธุรกิจของตระ***ลนี้กลับไม่เปิดเผยในที่โล่งแจ้ง จนกระทั่งเจ้าสัวเจริญ มีความพยายามจะนำหุ้นเบียร์ช้างเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยเมื่อปี 2548 นั่นเอง จึงมีการประเมินสินทรัพย์ของเจริญให้เห็นเป็นเค้าลาง

จึงไม่น่าแปลกที่ฟอร์บส์ เพิ่งจัดเจริญไว้ในกลุ่มเศรษฐีของเซาท์อีสต์ เอเชีย เมื่อปี 2005

นอกจากเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี มหาเศรษฐีของเมืองไทย ที่ติดอยู่ใน 40 TOPs ของอาเซียนยังประกอบไปด้วย เจ้าพ่อกระทิงแดง "เฉลียว อยู่วิทยา" ซึ่งติดอยู่ในอันดับ 11 มูลค่าความมั่งคั่ง 2.2 พันล้านดอลลาร์ "ธนินท์ เจียรวนนท์" อยู่ในอันดับ 17 มูลค่าความมั่งคั่ง 1.4 พันล้านดอลลาร์ และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อยู่ในอันดับ 18 มูลค่าความมั่งคั่งที่ฟอร์บส์นับได้ในปีที่แล้ว 1.3 พันล้านดอลลาร์

"วันชัย จิราธิวัฒน์" เป็นอีกคนหนึ่งที่ขึ้นชาร์ท อยู่ในอันดับ 30 มูลค่า 485 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 2 หมื่นล้านบาท ส่วน "ชาตรี โสภณพนิช" ติดอันดับ 33 มูลค่า 440 ล้านดอลลาร์ ตามด้วย "วิชัย มาลีนนท์" ความมั่งคั่ง 380 ล้านบาท และ "บุญชัย เบญจรงคกุล" ซึ่งร่ำรวยในระดับ 210 ล้านดอลลาร์ หรือราว 8 พันล้านบาท

เรื่องราวของ 8 ตระ***ลดัง ซึ่งขึ้นทำเนียบเศรษฐีอาเซียนเหล่านี้ ถูกพูดถึงซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ถ้าไปพิจารณาดูข้อมูลจาก 40 อันดับเศรษฐีเฉพาะเมืองไทย ซึ่งนิตยสารฟอร์บส์ จัดอันดับไว้เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กวาดสายตาให้ทั่วจะพบว่า นอกเหนือจากตระ***ลรวย (รวยซ้ำรวยซาก) ใน 40 อันดับเศรษฐีของเมืองไทย ยังมีอีกหลายชื่อเสียงเรียงนามที่สมควรติดตาม

หลายคนในจำนวนนี้จัดอยู่ในข่าย "เศรษฐีใหม่" ที่สร้างตัวขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วจนแทบไม่น่าเชื่อ และมีอีกหลายคนที่ "โลว์โปรไฟล์" ไม่ปรากฏบนหน้าสื่อ แต่มีชื่อติดอยู่ใน 40 คนแรกที่รวยที่สุดของประเทศ

มีหลายตระ***ลทีเดียวที่ใช้เวลา 10 ปีหลังฟองสบู่แตกในช่วงปี 2539-2540 สะสมความมั่งคั่งขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ทั้งที่จังหวะเวลาไม่เอื้ออำนวย

ขณะที่ธุรกิจขนาดใหญ่จำนวนไม่น้อยเข้าคิวปรับโครงสร้างหนี้ เพราะภาระหนี้สินที่แบกไว้จนหลังแอ่นจากพิษ “ต้มยำกุ้ง” แต่ช่วงเดียวกันนั้นยังมีนักธุรกิจอีกจำนวนหนึ่งที่แผ่กิ่งก้านสาขาอย่างเหนือความคาดหมาย

ตัวอย่างของตระ***ลรวยรุ่นหลังที่อาจนิยามได้ว่า เป็นตระ***ล “เศรษฐีใหม่” ตัวจริงของเมืองไทย เห็นได้ชัดเจนในลำดับ 18 “ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท พฤกษาเรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)

ฟอร์บส์วัดมูลค่าความมั่งคั่งของทองมาไว้ที่ 255 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หย่อนหมื่นล้านบาทไปเล็กน้อย

เมื่อ 10 ปีเศษก่อนหน้า "ทองมา" เป็นแค่ผู้รับเหมารายเล็กเท่านั้น แต่กลับสยายปีกก้าวขึ้นมาเป็น "ราชาทาวน์เฮ้าส์" ในปี พ.ศ.นี้

พฤกษาเรียลเอสเตท เพิ่งเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ปีเศษ ด้วยผลการดำเนินงานที่โลดลิ่วต่อเนื่อง จนถึงขณะนี้พฤกษาเป็นเจ้าของโครงการบ้านจัดสรรมากถึง 40 แห่งทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑล

ความรวยเร็วของ "ทองมา" ยืนยันได้จากคำบรรยายของฟอร์บส์ที่ระบุว่าเขา "น่าทึ่ง" ที่สุด

และเมื่อกล่าวถึงตระ***ลรวยรุ่นใหม่ แน่นอนว่าต้องมีชื่อของ "วิชัย รักศรีอักษร" เจ้าพ่อดิวตี้ฟรี รวมอยู่ในนั้น

ฟอร์บส์ระบุความร่ำรวยของ "วิชัย" ไว้ที่ 165 ล้านดอลลาร์ หรือ 6.2 พันล้านบาท โดยจัดอยู่ในคนรวยลำดับที่ 24 ของเมืองไทย

อาจพูดได้ว่า "วิชัย" เป็นนักธุรกิจที่มีจังหวะก้าวที่มีสีสันมากที่สุดในรอบปี ภายใต้สถานการณ์ทางธุรกิจที่ซบเซาต่อเนื่องทั้งจากพิษการเมือง และ พิษน้ำมัน

เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กลุ่มคิงเพาเวอร์เปิดอาณาจักรดิวตี้ฟรีกลางเมือง “คิง เพาเวอร์ ดาวน์ทาวน์ ดิวตี้ ฟรี” (King Power Downtown Duty Free)

พร้อมๆ กับการเปิดสนามบินสุวรรณภูมิ กลางเดือนนี้ วิชัยจะโชว์ความยิ่งใหญ่ให้เห็นกันอีกครั้งกับดิวตี้ฟรีช็อปสุวรรณภูมิ และสิทธิสัมปทาน พื้นที่เชิงพาณิชย์อีก 2 หมื่นตารางเมตร

อีกหนึ่งชื่อใน 40 อันดับเศรษฐีไทยของฟอร์บส์ ที่เซอร์ไพรส์พอประมาณคือชื่อของ “มาลินี กิตะพาณิชย์” แห่งสมบูรณ์กรุ๊ป รายนี้อยู่ในลำดับที่ 30 ของคนที่รวยที่สุดในเมืองไทย

ฟอร์บส์ประเมินความรวยของแม่ม่ายวัย 75 ปีคนนี้ ว่ามีมูลค่าประมาณ 135 ล้านดอลลาร์ หรือราว 5,000 ล้านบาท

ที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ "ตระ***ลจันศิริ" นำโดยเจ้าสัวทียูเอฟ "ไกรสร จันศิริ" ฟอร์บส์ประเมินความมั่งคั่งของไกรสร ไว้ที่ 160 ล้านดอลลาร์ หรือราว 6 พันล้านบาท จัดอยู่ในอันดับ 25 ของเศรษฐีเมืองไทย

ก้าวรุกของไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารกระป๋อง ซึ่งถือหุ้นใหญ่โดยตระ***ลจันศิริ เกิดขึ้นหลังวิกฤติเศรษฐกิจ โดยมีบุตรชายคือ ธีรพงศ์ จันศิริ ก้าวขึ้นมาเป็น "แม่ทัพใหญ่"

พลาดไม่ได้กับเศรษฐีชื่อใหม่ “วิชา พูลวรลักษณ์” ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) เขาอยู่ในอันดับที่ 26 ของเศรษฐีเมืองไทย ด้วยตัวเลขความร่ำรวย 155 ล้านดอลลาร์ หรือ 5,890 ล้านบาท

ฟอร์บส์เรียกเขาว่า “ราชาโรงภาพยนตร์” เพราะตอนนี้วิชา พูลวรลักษณ์ ถือว่า “ผูกขาด” ธุรกิจโรงหนังในเมืองไทยไปแล้ว ภายหลังจากที่เข้าซื้อกิจการของโรงภาพยนตร์อีจีวี

ณ ขณะนี้ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ครองส่วนแบ่งการตลาดของธุรกิจโรงภาพยนตร์ไม่ต่ำกว่า 80% ในเมืองไทย

และดูเหมือนว่าธุรกิจนี้จะเล็กเกินไปสำหรับเศรษฐีขึ้นชาร์ท “40 TOPs” เพราะวิชามักจะยืนยันว่าเขาไม่ได้ทำธุรกิจโรงภาพยนตร์ แต่เขาทำธุรกิจเกี่ยวกับ Lifestye Entertainment หรือบันเทิงไลฟ์สไตล์

นั่นทำให้เครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ และวิชา ประสบความสำเร็จ ทั้งจากธุรกิจโรงหนังที่เข้าใจไลฟ์สไตล์คนยุคนี้ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ โดยเฉพาะธุรกิจโบว์ลิ่ง ฟิตเนส คาราโอเกะ ธุรกิจโฆษณา และศูนย์การค้าประเภทไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์

และนี่คือเศรษฐีอีกคนที่เข้าขั้น “ไทคูน” ของอุตสาหกรรม

ไล่ไปถึงอันดับ 29 “วิกรม กรมดิษฐ์” จากค่ายอมตะ กรุ๊ป ยักษ์ใหญ่วงการนิคมอุตสาหกรรมอันดับหนึ่งของไทย

ปริมาณความร่ำรวยของวิกรมที่ฟอร์บส์นับได้อยู่ที่ 140 ล้านดอลลาร์ หรือ 5,300 ล้านบาท

ถือได้ว่า อมตะ เป็นนิคมอุตสาหกรรมรายใหญ่ที่สุดของเมืองไทย และก็เหมือนเช่นเศรษฐีคนอื่นๆ คือ เขาไม่ได้คิดว่าเขาทำแค่นิคมอุตสาหกรรม แต่เขาเป็น “นักสร้างเมืองสมบูรณ์แบบ”

สำหรับ วิลเลี่ยม อี.ไฮเนคกี้ ซึ่งติดอยู่ในอันดับที่ 16 มีมูลค่าความร่ำรวย 280 ล้านดอลลาร์ หรือหมื่นล้านบาทเศษๆ

เขาไม่ใช่เศรษฐีใหม่ถอดด้าม เพราะไมเนอร์ กรุ๊ป เข้าตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่ปี 2531 และไฮเนคกี้เป็นที่รู้จักในฐานะนักธุรกิจต่างชาติที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทยมากที่สุดคนหนึ่ง และมีธุรกิจในมือมากมาย

จนถึงขณะนี้ อาณาจักรไมเนอร์ กรุ๊ป ของไฮเนคกี้ มีบริษัทในเครือกว่า 30 แห่ง ซึ่งทำธุรกิจทั้งโรงแรม ศูนย์การค้า ธุรกิจอาหาร ธุรกิจเสื้อผ้า เครื่องสำอาง

อย่างไรก็ตามความโดดเด่นมาเห็นชัดเมื่อเกิด "สงครามพิซซ่า" ระหว่างไทรคอนฯ หรือ ยัม เรสเตอรองค์ ที่เข้ามาบริหารพิซซ่า ฮัท ในเมืองไทยเอง และ "เดอะ พิซซ่า คอมปะนี " แบรด์ใหม่ที่ไฮเนคกี้ปั้นขึ้นเอง

สงครามนี้ไฮเนคกี้ชนะขาด และหลังจากนั้นเขาก็เปิดเกมรุกไปยังธุรกิจโรงแรม และร้านอาหารในแบรนด์อื่นๆ

ชื่อเหล่านี้เป็นเพียงจำนวนหนึ่งของเศรษฐีเมืองไทย ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้ว ยังมีอีกหลายตระ***ลที่น่าติดตาม ไม่ว่าจะเป็น น.พ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ เจ้าของยาหอมปราสาททองโอสถ สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส และโรงพยาบาลในเครือกรุงเทพดุสิตเวชการ ผู้บริหารเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ

ธุรกิจในมือของ น.พ.ปราเสริฐ ล้วนกำลังรุ่ง

ขณะที่บางกอกแอร์เวย์ส ถูกเรียกว่าสายการบิน “เล็กพริกขี้หนู” ซึ่งวางตำแหน่งตัวเองไว้ชัดว่าเป็นสายการบินเพื่อการท่องเที่ยว เป็นสายการบิน Niche แต่มีมูลค่าตลาดมหาศาล

ขณะที่โรงพยาบาลกรุงเทพ ก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่กำลังเติบโตต่อเนื่องภายใต้แนวคิด Medical Hub

“คุณนายแดง” ...สุรางค์ เปรมปรีดิ์ เจ้าแม่ 7 สี ก็เป็นอีกหนึ่งคนที่ติดอันดับท็อป 40 เศรษฐีเมืองไทย ด้วยมูลค่าความมั่งคั่ง 85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทย 3 พันล้านบาท

เป็นความร่ำรวยที่เกิดจากการถือหุ้นของบริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด (บีบีทีวี) หรือ ช่อง 7 เพียงบริษัทเดียวเท่านั้น เนื่องจากคุณนายแดงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ลำดับสาม ด้วย***ส่วน 18.85%

นอกจากนี้ยังมี “ตระ***ลลี้อิสสระนุกุล" เจ้าของสิทธิผล กรุ๊ป และไทยสแตนเลย์การไฟฟ้า เศรษฐีลำดับ 31 ด้วยมูลค่าความมั่งคั่ง 130 ล้านบาท เฉียด 5,000 ล้านบาท "ตระ***ลตันธุวณิชย์" เจ้าของกิจการเดินเรือพาณิชย์นาวี อาร์ซีแอล ซึ่งมียอดขายระดับ 2 หมื่นล้านบาท นำโดยสุเมธ ตันธุวณิชย์ และกลุ่มไทยซัมมิท ของ สรรเสริญ จุฬาง***ร ซึ่งเป็นอีกหนึ่งรายที่เติบใหญ่มาพร้อมนโยบาย ดีทรอยต์ออฟเอเชีย รวมถึง "อา***๋" ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ที่รั้งท้ายใน “40 TOPs” ของคนรวยที่สุดในเมืองไทย



ผู้ตั้งกระทู้ musashi โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2006-09-11 08:30:25 IP : 202.139.223.18


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (416956)
เศรษฐีอันดับ 18 รวยเหลือเชื่อ “ทองมา วิจิตรพงศ์พันธ์”

"12 ปีของการทำธุรกิจบ้านจัดสรรมาทีหลังแต่ก้าวเร็วกว่า เพราะเขาแปลงความคิดเป็นทุน"

ได้ชื่อว่ารวยเงียบๆ สำหรับ “ราชาทาวน์เฮ้าส์” ทองมา วิจิตรพงศ์พันธ์ ซึ่งใช้เวลาแค่ 10 ปีเศษ ไต่เต้าจากผู้รับเหมารายเล็กขึ้นมาเป็น เศรษฐีอันดับที่ 18 ของเมืองไทย

“ทองมา วิจิตรพงศ์พันธ์” กรรมการผู้จัดการบริษัทพฤกษาเรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) ติดอยู่ในเศรษฐีลำดับที่ 18 ของเมืองไทย จากการจัดอันดับของฟอร์บส์ ด้วยมูลค่าความร่ำรวย 255 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินบาทก็เกินกว่า 8,000 ล้านบาท

เขาคนนี้โลว์โพรไฟล์แต่จัดว่า "รวยเร็ว" ที่สุด

"ทองมา" จบวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ จากนั้นก็เป็นวิศวกรประจำไซต์งานอยู่อีกหลายปี ก่อนจะมาเป็น "ผู้รับเหมา รายเล็ก” แต่จู่ๆ ชื่อของเขาก็ขึ้นชาร์จ คนรวย 40 ลำดับแรกของเมืองไทย

“ทองมา” เริ่มธุรกิจบ้านจัดสรรของตัวเองเมื่อปี 2539 ปีที่เศรษฐกิจไทยทรุดหนัก และใช้เวลาแค่ 12 ปี ปั้น “พฤกษาเรียลเอสเตท” ให้เป็นหนึ่งในบริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่

พฤกษาเรียลเอสเตท เป็นเจ้าของโครงการบ้านจัดสรรกว่า 40 โครงการ ประเมินจากมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด ขนาดของธุรกิจก็อยู่ในราว....... ล้านบาท

"ทองมา" ได้ชื่อว่า "ราชาทาวน์เฮ้าส์" ไปเรียบร้อยแล้ว พร้อมๆ กับการเติบโตของอาณาจักรหมู่บ้านพฤกษา ที่ครอบคลุมทั่วกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล

เหตุที่สร้างความร่ำรวยได้รวดเร็วอย่างน่าทึ่งทั้งที่ไม่ได้มีทุนรอนจากตระ***ลเศรษฐี หรือมีฐานธุรกิจของครอบครัวมาก่อน Key to Successs ของทองมาโดดเด่น และ ชัดเจนคือ "นวัตกรรม"

12 ปีของการทำธุรกิจบ้านจัดสรรมาทีหลังแต่ก้าวเร็วกว่า เพราะเขาแปลง "ความคิดเป็นทุน"

ในช่วงที่เศรษฐกิจไทยใช้เวลาฟื้นตัวหลังวิกฤติเศรษฐกิจนักธุรกิจจำนวนมากชะลอลงทุน เพราะไม่มั่นใจในดีมานด์ แต่พฤกษาเรียลเอสเตท ไม่คิดเช่นนั้น เขาเชื่อว่า ดีมานด์บ้านจัดสรรยังมี แต่ราคาต้อง สมเหตุสมผล และ แข่งขันได้

นั่นทำให้ "ทองมา" ให้ความสำคัญกับ "นวัตกรรม" ซึ่งเป็นสะพานไปสู่เรื่อง "ราคา"

จากวิธีการสร้างบ้านแบบเดิมๆ ที่ทำกันมากว่า 50 ปี "ทองมา" ตัดสินใจซื้อเทคโนโลยีระบบผนัง สำเร็จรูป หรือ (Cast Insitu Load Bearing Wall Structure) มาใช้กับพฤกษาเรียลเอสเตท

รวยเร็วก้าวเร็วมาถึงขนาดนี้ เพราะ "ทองมา" อ่านขาด และพยายามนำนวัตกรรมมาใส่ในการสร้างบ้านเพื่อให้บ้านมีราคาถูกลง และ สร้างเร็วขึ้น

แม้ว่า เทคโนโลยีผนังสำเร็จรูป ไม่ได้ทำให้ต้นทุนการผลิตของ พฤกษาเรียลเอสเตท ต่ำลง แต่ผลทางอ้อมคือ ทำให้พฤกษาฯ สร้างบ้านได้เร็วขึ้น รอบของการขายเร็วขึ้น ต้นทุนการเงินต่ำลง และทำให้การสร้าง ทาวน์เฮ้าส์ เป็นการผลิตแบบแมส ซึ่งจะเกิด Economy of Scale ตามมา

กระบวนท่าดังกล่าวทำให้กลุ่มพฤกษาฯ สยายปีกอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ดิวิลอปเปอร์รายอื่นๆ กำลังกรอบเต็มทีภายหลังฟองสบู่แตก

“ทองมา” ลงทุนสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปหรือ (Precast Concrete Factory) เทคโนโลยีจากเยอรมัน ระบบการสร้างบ้านแบบผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ของตัวบ้านจากโรงงานแล้วนำมาประกอบที่หน้างาน ที่เรียกว่า Prefabrication

Prefabrication ช่วยย่นระยะเวลาการก่อสร้างบ้านเดี่ยวเหลือเพียง 70 วันขณะที่วิธีก่ออิฐฉาบปูนทั่วไปใช้เวลานานถึง 6 เดือน

และนอกจากใช้เทคโนโลยีเพื่อซัพพอร์ตธุรกิจตัวเอง พฤกษา ยังก้าวไปอีกขั้นด้วยการเป็นซัพพลายเออร์ให้กับ ผู้ประกอบการรายอื่นด้วย

10 ปีเศษที่ผ่านมา “ทองมา” พิสูจน์แล้วว่า บรรยากาศทางเศรษฐกิจ ไม่ใช่เหตุผลทั้งหมด เรื่องของจังหวะเวลา และโชค เป็นเพียง “ตัวช่วย” ที่สำคัญเท่านั้น ไม่ใช่ “สาระ” ที่จะชี้ชัดถึงถนนสู่ความสำเร็จ

เพียงแค่บริหารในรายละเอียด ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพในการผลิตในทุกกระบวนการก็สามารถเป็นผู้ชนะได้

วิชั่นของ “ทองมา” เห็นได้ชัดอีกครั้ง เมื่อพฤกษาฯ ว่าจ้างบริษัทไอบีเอ็ม ให้เข้ามาวางระบบบริหารต้นทุน ภายใต้โครงการ Business Process Improvement and Workforce Management ด้วยงบลงทุนสูงถึง12.75 ล้านบาท เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน

10 ปีของวงจรเศรษฐกิจ แม้จะมีนักธุริกจที่ล้มหายตายจากไป แต่ก็มี "คนรวย" รุ่นใหม่ เกิดขึ้น เพราะมองทะลุ เข้าใจตลาด และเดินหน้าครีเอทดีมานด์ด้วยนวัตกรรม

อายุ49 ปีกับความร่ำรวยระดับ "หมื่นล้าน" สร้างตัวจากโนเนม จนเป็นราชาทาวน์เฮ้าส์ "ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์" คือเศรษฐีตัวจริงที่รวยเร็วอย่างไม่น่าเป็นไปได้ แต่ยืนยันได้ว่าน่าเอาอย่าง

ผู้แสดงความคิดเห็น musashi วันที่ตอบ 2006-09-11 08:36:31 IP : 202.139.223.18


ความคิดเห็นที่ 2 (416960)
เศรษฐีอันดับ 24 ปีทองของ “วิชัย รักศรีอักษร”

"จากแรงส่งของสุวรรณภูมิ บอกได้ว่าเป็นทั้งหมดนี้เป็นเพียงปฐมบทของความมั่งคั่งสำหรับวิชัย รักศรีอักษร คนรวยลำดับที่ 24 ของเมืองไทย ใครจะรู้ว่าในการจัดอันดับของฟอร์บส์ปีหน้าวิชัยจะทะยานขึ้นไปอีกกี่ขั้น "

ต้องคลาดเคลื่อนอย่างไม่ต้องสงสัย สำหรับความมั่งคั่งที่ฟอร์บส์ ประเมินไว้ 165 ล้านดอลลาร์ หรือ ราว 6,200 ล้านบาท ในกรณี “วิชัย รักศรีอักษร”

มูลค่าความร่ำรวยที่ฟอร์บส์จัดให้ ดูจะเป็นเพียงส่วนเสี้ยวเดียวของ “วิชัย รักศรีอักษร” ประธานบริษัทคิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด “ เจ้าพ่อดิวตี้ฟรี” ที่รัศมีความร่ำรวยกำลังเปล่งประกาย

ไม่ต้องพิจารณาข้อมูลอื่นไกล เพียงแค่ 2 โปรเจคสดๆ ร้อนๆ ที่เปิดตัวไปแล้ว และกำลังจะเปิดในสัปดาห์ข้างหน้า รวมๆ กันก็เป็นเงินลงทุนเหยียบหมื่นล้านไปแล้ว

เมื่อ 18 สิงหาคม ที่ผ่านมา “วิชัย” ประกาศความยิ่งใหญ่ ด้วยการเปิดอาณาจักร ดิวตี้ ฟรีกลางเมือง “คิง เพาเวอร์ ดาวน์ทาวน์ ดิวตี้ ฟรี” (King Power Downtown Duty Free) ร้านปลอดภาษีอากร บนถนนรางน้ำ

โปรเจคนี้มูลค่าการลงทุนสูงถึง 4,500 ล้านบาท เป็นคอมเพล็กซ์ สมบูรณ์แบบ ทั้ง อาคารสำนักงาน ร้านค้าปลอดภาษี ภัตตาคาร โรงภาพยนตร์ และโรงแรมระดับ 4 ดาว โดยเฟสแรกคือ “ ดิวตี้ ฟรี มอลล์” เปิดให้บริการไปแล้ว

และในอีกหนึ่งสัปดาห์ข้างหน้า ความยิ่งใหญ่ของ “วิชัย” จะปรากฏอีกครั้ง กับ อาณาจักร คิงเพาเวอร์ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ

เฉพาะ โปรเจคร้านค้าปลอดอากร ของคิงเพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป “วิชัย” หมายมั่นปั้นมือว่าจะต้องมี 3 โครงการอยู่ในหนึ่งเดียว

แผนใหญ่คือ อาณาจักร คิงเพาเวอร์ บนพื้นที่ 200 ไร่ บริเวณสุวรรณภูมิฮับ จะต้องเป็นศูนย์กลางชอปปิงที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย

อาณาจักรนี้ยังต้องมีแผนสนับสนุน อีกสองส่วนได้แก่ โรงเรียนสอนธุรกิจดิวตี้ฟรี Academy King Power สร้างคนเพื่อป้อนคิงเพาเวอร์ ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินลงทุน 200 ล้านบาท และโครงการ “หมู่บ้านคิงเพาเวอร์” คอนโดมิเนียมขนาด 2,000 ห้องสำหรับพนักงานของคิงเพาเวอร์

“สุวรรณภูมิ” ยังเป็นอนาคตที่ผ่องแผ้วของ “วิชัย” เพราะธุรกิจของเขาไม่ได้อยู่ที่ดิวตี้ ฟรี เท่านั้น แต่ที่สุวรรณภูมิ กลุ่มคิงเพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ยังได้รับสัมปทานบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์อีก 2 หมื่นตารางเมตร

นี่คือสาเหตุหลักที่ “วิชัย” ถูกวิจารณ์ว่าเป็นทุนสัมปทานที่เติบใหญ่โดยอาศัยคอนเนคชั่นที่แน่นปึ้ก

ในการประมูลพื้นที่สุวรรณภูมิ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548 กลุ่มคิงเพาเวอร์ “กินรวบ” ทั้งพื้นที่ ดิวตี้ฟรี ปลอดภาษี และ พื้นที่เชิงพาณิชย์

ณ วันนี้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจใหญ่ขนาดไหน หากต้องการเข้าไปทำธุรกิจที่สุวรรณภูมิต้องผ่านการเปิดทางโดย คิงเพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล

สำหรับพื้นที่เชิงพาณิชย์ คิงเพาเวอร์ ต้องจ่ายผลตอบแทนให้กับ บริษัทท่าอากาศยานไทย (ทอท.) 1,431 ล้านบาท และจ่ายผลตอบแทนล่วงหน้าอีก 2,000 ล้านบาทแลกกับสัญญาเช่าพื้นที่ 10 ปี

นอกจาก “กินรวบ” แล้ว วิชัย รักศรีอักษร ยัง “กินยาว” เพราะคิงเพาเวอร์ ได้ต่อสัญญาการขายสินค้าดิวตี้ฟรี จากดอนเมือง มาสู่สุวรรณภูมิ อีก 10 ปี เริ่มจากปี 2548 ไปจบที่ปี 2558 โดยไม่ต้องประมูล

สัญญานี้รวมถึง การขายสินค้าดิวตี้ ฟรี ใน 3 สนามบินภูมิภาค คือสนามบินเชียงใหม่ สนามบินหาดใหญ่ และ สนามบินภูเก็ต

นอกจากดิวตี้ฟรีกลางเมือง และ สุวรรณภูมิ ในรอบปีหลังๆ ชื่อของ “วิชัย รักศรีอักษร” ยังโลดแล่นอยู่ในตลาดหุ้น โดยมีเพื่อนพ้องคนใกล้ชิด ติดอยู่ในชาร์จ “เซียน” ของตลาดหุ้นไทย

และถ้าย้อนกลับไป 3 ปีก่อนหน้า กลุ่มคิงเพาเวอร์ ได้เข้าลงทุนปันที่ดินละแวกสุวรรณภูมิ จากตระ***ลชาญอิสสระ จำนวน 300 ไร่ เพื่อขึ้นโครงการ “วีอาร์ สปอร์ต คลับ” ประกอบไปด้วย สนามกอล์ฟ 9 หลุม , สนามโปโลที่ใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ , โรงแรมขนาด 40 ห้อง และ คลังสินค้า

หากจะวัดกันที่สปีดของความรวย เห็นชัดว่า “วิชัย รักศรีอักษร” มาแรงแซงโค้งทีเดียว

จากแรงส่งของสุวรรณภูมิ บอกได้ว่าเป็นทั้งหมดนี้เป็นเพียงปฐมบทของความมั่งคั่งสำหรับวิชัย รักศรีอักษร คนรวยลำดับที่ 24 ของเมืองไทย

ใครจะรู้ว่าในการจัดอันดับของฟอร์บส์ปีหน้า “วิชัย” จะทะยานขึ้นไปอีกกี่ขั้น

ผู้แสดงความคิดเห็น musashi วันที่ตอบ 2006-09-11 08:44:22 IP : 202.139.223.18


ความคิดเห็นที่ 3 (416962)
เศรษฐีอันดับที่ 30 "มาลินี กิตะพาณิชย์" และ "ตระ***ลกิตะพาณิชย์"

เศรษฐีอันดับที่ 30 "มาลินี กิตะพาณิชย์" และ "ตระ***ลกิตะพาณิชย์"

"มาลินี กิตะพาณิชย์" เศรษฐีไทยอันดับที่ 30 ที่จัดโดยฟอร์บส์ เป็นอีกชื่อที่แหวกโผอยู่บนทำเนียบ "คนรวย" ของเมืองไทย

เธอ เป็นอีกคนหนึ่งที่จัดว่าเป็น "เจ้าแม่ชิ้นส่วนฯ" ไม่ต่างกับ สมพร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานไทยซัมมิท กรุ๊ป แม้แต่ที่ตั้งโรงงานยังตั้งอยู่บนถนนบางนาตราด กม.15 ห่างกันเพียงถนนกั้น

มาลินี กิตะพาณิชย์ ถือหุ้นในบริษัทสมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ SAT จำนวน 19,982,700 หุ้น คิดเป็น 6.66 % รองจากบริษัทสมบูรณ์ โฮลดิ้งส์ จำกัด ซึ่งถืออยู่ 79,999,200 หุ้น หรือ 26.67% และกองทุนเพื่อการร่วมลงทุน ที่ถือหุ้นอยู่ 30,000,000 หรือ 10%

แต่เมื่อสืบลึกลงไปจะเห็นว่า สมบูรณ์ โฮลดิ้งส์ มีมาลินีเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 27% ที่เหลือเป็นการถือหุ้นของลูกๆอีก 9 คนในตระ***ลกิตะพาณิชย์

สมบูรณ์โฮลดิ้งส์จึงไม่ต่างจาก "กงสี" ของตระ***

ปัจจุบันลูกๆ 4 ใน 9 คนของมาลินี กลายเป็นกำลังหลักในการผลักดันความมั่งคั่งให้กับสมบูรณ์ กรุ๊ป โดยมี วีระยุทธ กิตะพาณิชย์ นั่งเก้าอี้ซีอีโอ สมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ฯ ,ยงเกียรติ กิตะพาณิชย์ นั่งในตำแหน่งรองประธานอาวุโส สายปฏิบัติงาน,กษมล กิตะพาณิชย์ นั่งเป็นผู้จัดการทั่วไปธุรการ และนภัสสร เป็นผู้จัดการทั่วไปด้านการตลาดและพัฒนาธุรกิจ

ฟอร์บส์ ประเมินความรวยของแม่ม่ายวัย 75 ปี ว่ามีมูลค่าประมาณ 135 ล้านดอลลาร์ หรือราว 5,000 ล้านบาท

ปัจจุบัน แม้มาลินีจะไม่ได้นั่งเป็นผู้บริหาร แต่เธอยังนั่งอยู่ในตำแหน่งประธานบริษัทสมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี ซึ่งประกอบด้วย 2 บริษัทในกลุ่ม ได้แก่ สมบูรณ์หล่อเหล็กเหนียวอุตสาหกรรม จำกัด (SBM) และบริษัทบางกอกสปริงอินดัสเตรียล จำกัด (BSK) ที่ถือหุ้นโดยสมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ฯ 100%

การเติบโตอย่าง "ก้าวกระโดด" ของสมบูรณ์กรุ๊ป ยังกลายเป็นกรณีศึกษา ที่แสดงให้เห็นถึง "ผลพวง" ของการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ ผ่านการผลักดันโครงการ "ดีทรอยต์ ออฟ เอเชีย" ได้อย่างชัดเจน ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจที่ได้ประโยชน์ไปเต็มๆจากนโยบายนี้

เห็นได้จากธุรกิจของสมบูรณ์ กรุ๊ป มีอัตราเติบโตปีละไม่ต่ำกว่า 25% และเมื่อสมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี 2548 ยังโชว์ตัวเลขกำไรทันที 441 ล้านบาท

จุดเริ่มต้นในการทำธุรกิจสมบูรณ์กรุ๊ป เริ่มตั้งแต่ปี 2484 โดยตระ***ลกิตะพาณิชย์ นับถึงวันนี้ก็ล่วงเข้าปีที่ 65 ตั้งแต่การตั้ง หจก.ย่งกี่ ตัวแทนจำหน่ายชิ้นส่วนยานยนต์ อะไหล่ โดยมี "สมบูรณ์ กิตะพาณิชย์" (สามีผู้ล่วงลับของมาลินี) เป็นผู้ก่อตั้ง ทำธุรกิจเรื่อยมา

ก่อนจะมาตั้งบริษัทสมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี ในปี 2538 เพื่อประกอบธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ทดแทนการนำเข้า สินค้าหลัก คือ เพลาข้าง (Axle Shaft) ที่กินรวบตลาดในประเทศอยู่ในขณะนี้ ด้วยส่วนแบ่งการตลาดถึง 90% จากมูลค่าตลาดรวมกว่า 2,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังมีธุรกิจสปริงและชิ้นส่วนเหล็กหล่อ ที่กินส่วนแบ่งตลาด 25-35%

ลูกค้าหลักยังเป็นค่ายรถยนต์ญี่ปุ่น ได้แก่ มิตซูบิชิ โตโยต้า อีซูซุ ฮอนด้าและออโต้ อัลลายอันซ์ หรือ เอเอที

ธุรกิจของสมบูรณ์ กรุ๊ป เติบโตอย่างรวดเร็ว ในปีที่ผ่านมาสมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ฯมีรายได้จากการขาย 3,868 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 20% เมื่อเทียบกับรายได้จากการขายในปี 2547 ที่ 3,037.14 ล้านบาท

โดยเฉพาะการเติบโตอย่างรวดเร็วเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นรอยต่อของการนำบริษัทสมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ฯเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากการเพิ่มกำลังการผลิตในแต่ละโปรดักท์เป็นเท่าตัว

เริ่มตั้งแต่การเพิ่มกำลังการผลิตเพลาข้าง ที่โรงงานแห่งใหม่ในจ.ระยอง กำลังการผลิต 9 หมื่นชิ้นต่อเดือน ทำให้กำลังการผลิตเพลาข้างของบริษัทเพิ่มขึ้นจาก 1 แสนชิ้นต่อเดือน เป็น 1.9 แสนชิ้นต่อเดือน

การขยายกำลังการผลิตคอยล์สปริง จาก 3 หมื่นชิ้นต่อเดือน เป็น 1 แสนชิ้นต่อเดือน (ผลิตเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว) และการขยายกำลังการผลิตเหล็กกันโคลง จาก 3 หมื่นชิ้นต่อเดือน เป็น 1.3 แสนชิ้นต่อเดือน (ผลิตเพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่าตัว)

นอกจากนี้ ยังเพิ่มกำลังการผลิตชิ้นส่วนเหล็กหล่อ ซึ่งมีโปรดักท์ในกลุ่มนี้กว่า 10 รายการ จาก 2.5 แสนชิ้นต่อเดือน เป็น 3.5 แสนชิ้นต่อเดือน

ปัจจุบันธุรกิจเพลาข้าง สปริง และชิ้นส่วนเหล็กหล่อ ทำรายได้เป็น***ส่วน 36% -25% -39% ของรายได้รวมจากการขาย ตามลำดับ

กำลังการผลิตชิ้นส่วนที่เพิ่มขึ้น สอดรับกับกำลังการผลิตรถยนต์ของค่ายต่างๆในไทย ที่เพิ่มขึ้นจาก 9.28 แสนคันในปี 2547 เป็น 1.1 ล้านคันในปี 2548 และคาดว่าในปีนี้ ยอดผลิตรถยนต์ในประเทศจะเพิ่มเป็น 1.28 ล้านคัน จนถึงปี 2553 คาดว่า ยอดผลิตรถยนต์ในประเทศจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.8 ล้านคัน

ยังมีตัวเลขที่น่าสนใจว่า กำลังการผลิตรถยนต์ในประเทศที่เพิ่มขึ้น 75% เป็นการเพิ่มขึ้นของรถปิกอัพ

ขณะที่ชิ้นส่วนยานยนต์ของสมบูรณ์ กรุ๊ป ป้อนให้กับชิ้นส่วนรถปิกอัพถึง 70% เรียกได้ว่ารถปิกอัพทุกยี่ห้อที่ผลิตในไทยใช้เพลาข้างจากสมบูรณ์กรุ๊ป ยกเว้น นิสสัน

ทำให้สมบูรณ์ กรุ๊ป คาดว่าในปีนี้จะมีรายได้จากการขายเพิ่มเป็น 4,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18% เมื่อเทียบกับปี 2548

จุดเด่นของสมบูรณ์ กรุ๊ป ที่ทำให้ธุรกิจขยายตัวโหนกระแสอุตสาหกรรมรถยนต์ อยู่ที่การเป็นบริษัทคนไทยร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่มีค่ายรถยนต์อื่นใดเข้ามาถือหุ้นร่วม ทำให้สามารถเป็นพันธมิตรในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ให้กับทุกค่ายได้อย่างสนิทใจ

สมบูรณ์กรุ๊ป ยังเป็นบริษัทแรกในไทยที่ผลิตเพลาข้าง การเพิ่มกำลังการผลิตให้เกิดความประหยัดจากขนาด (อีโคโนมี ออฟ สเกล) ทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนรายอื่น ไม่สามารถเบียดตลาดได้ จากก้าวที่ช้ากว่า และต้นทุนที่ไม่สามารถแข่งขันได้ และหากเลือกที่จะนำเข้าเพลาข้าง ก็จะต้องเผชิญกับกำแพงภาษีที่สูงถึง 10-15%

เมื่อเทียบต้นทุนการผลิตชิ้นส่วนของสมบูรณ์กรุ๊ป กับการผลิตชิ้นส่วนในญี่ปุ่น จะพบว่า สมบูรณ์กรุ๊ป มีต้นทุนต่ำกว่า 10-20%

ก้าวต่อไปของสมบูรณ์กรุ๊ป มองไปถึงการหาโปรดักท์ใหม่มาป้อนตลาด รวมไปถึงการปรับกลยุทธ์การผลิตและการตลาดด้วยการผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนยานยนต์ประกอบสำเร็จรูป (Assemble Module) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และยังเป็นแนวโน้มของค่ายรถยนต์ต่างๆ ที่ต้องการลดระยะเวลาการประกอบรถยนต์ และปรับลดจำนวนพนักงานในไลน์การผลิตลง

ขณะนี้สมบูรณ์ กรุ๊ป ยอมรับว่าอยู่ระหว่างเจรจาในเรื่องดังกล่าวอยู่กับ 3 ค่ายรถยนต์ที่ตั้งฐานการผลิตในไทยเพื่อผลิตชิ้นส่วนประกอบสำเร็จรูปในโปรดักท์ที่มีความเที่ยงตรงสูงในการขับเคลื่อนรถยนต์

โดยจะสรุปผลการเจรจาได้ในปีนี้ และคาดว่า หากเจรจาสำเร็จจะทำให้มูลค่าเพิ่มของสินค้าเพิ่มขึ้น 5%

เม็ดเงินจำนวนหลายพันล้าน ที่จะใช้สำหรับการลงทุนสำหรับโครงการนี้ ไม่แน่ว่าสมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ฯ อาจจำเป็นต้องประกาศเพิ่มทุนในปีหน้า

โครงการนี้ยังจะทำให้รายได้ของสมบูรณ์ กรุ๊ป เพิ่มขึ้นมากถึง 4,500 ล้านบาท ในอีก 2 ปีข้างหน้า ถือเป็นการโตอย่างก้าวกระโดดอีกครั้ง

ผู้แสดงความคิดเห็น musashi วันที่ตอบ 2006-09-11 08:47:59 IP : 202.139.223.18


ความคิดเห็นที่ 4 (416965)
เศรษฐีอันดับที่ 26 วิชา พูลวรลักษณ์ ‘อินโนเวชั่น’ พารวย

การก้าวสู่เบอร์ 26 เศรษฐีไทยจากการจัดอันดับเป็นครั้งแรก แถมยังเป็นเศรษฐีที่มีอายุน้อยที่สุด ด้วยวัย 42 ปี ส่งให้ชื่อ วิชา พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) เป็นที่จับตามองอีกครั้ง

เขาสรุปถึงที่มาของ "ความรวย" ที่ถูกจัดอันดับนี้ว่า "ทำธุรกิจต้องมีอินโนเวชั่น ต้องพยายามสร้างอะไรที่แปลกใหม่ และไม่หยุดนิ่งตลอดเวลา"

แนวคิดนี้ถูกยืนยันตั้งแต่วิชาก้าวเข้าสู่ธุรกิจโรงภาพยนตร์ ด้วยการบุกเบิกโรงภาพยนตร์ในรูปแบบ Stand Alone Complex กับการออกแบบบรรยากาศโรงภาพยนตร์ในแต่ละสาขาที่แตกต่างกัน หรือ Theme Cinema จากสาขาแรกที่ปิ่นเกล้า ต่อเนื่องถึงสาขารัชโยธิน และขยายผล

กำเนิดไอแมกซ์ โรงภาพยนตร์ 3 มิติ แห่งแรกและแห่งเดียวในไทย ยังไม่นับถึงการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาพัฒนาระบบช่องทางการจำหน่ายตั๋วภาพยนตร์ อาทิ มูฟวี่ ไลน์ ผ่านเบอร์ 0-2515-555

การจองผ่านอินเทอร์เน็ตทาง www.majorcineplax.com ,จองตั๋วผ่านโทรศัพท์มือถือ ,เครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ ETM (Electronic Ticket Machine) และจำหน่ายผ่านเครื่องเอทีเอ็มของธนาคารกรุงศรีอยุธยา

ข้างต้นล้วนเป็นอินโนเวชั่นที่ "วิชา" พูดถึง เพราะไม่เพียงพลิกธุรกิจบันเทิงในมือให้ใหญ่ขึ้นได้ แต่ยังเป็นการพลิกโฉมธุรกิจโรงภาพยนตร์ของประเทศไทยให้เทียบชั้นสากล

จุดเปลี่ยนสำคัญที่เป็นส่งให้ "วิชา" แรงขึ้นมาบนเส้นทาง "เศรษฐีใหม่" อยู่ที่ การนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อปี 2545

และการเข้าควบรวมกับ อีจีวี เบอร์สองในธุรกิจ ผลที่ได้คือ อำนาจและส่วนแบ่งการตลาดที่มากถึง 80%

ตอนนั้นมองว่า "วิชา" มองว่า ไม่มีความจำเป็นต้องแข่งกับใคร แต่สิ่งสำคัญกลับอยู่ที่ผู้บริโภค และทำอย่างไรจึงจะวิ่งให้ทันไลฟ์สไตล์ และดึงพวกเขาเข้ามาหาเรามากที่สุด ซึ่งนอกเหนือจากตัวบริการและโปรดักท์ที่มีคุณภาพ ความแปลกใหม่จะช่วยตอบโจทย์ได้

อินโนเวชั่นที่เขาพูดถึง ไม่ใช่จำกัดวงเฉพาะการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาตอบสนองเรื่องการจองตั๋วชมภาพยนตร์ที่สะดวกสบายเท่านั้น ยังหมายรวมถึงการนำมาตอบสนองไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงและเชื่อมโยงความบันเทิงเข้าหากัน

ดังจะเห็นได้จากการวางแนวทางของเมเจอร์ กรุ้ป ให้เป็น Total Entertainment Lifestyle โดยขยายธุรกิจในแนวราบ (Horizontal Integration)

การเข้าถือหุ้น***ส่วน 21% ในบริษัทสยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนาและบริหารศูนย์การค้าแบบไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์

และ 49% ในแคลิฟอร์เนีย ว้าว เอ็กซ์พีเรียนซ์ ผู้ให้บริการฟิตเนส เซ็นเตอร์แบบครบวงจร

ตามแนวคิดของ "วิชา" ที่ว่า กลุ่มเมเจอร์ไม่ได้มองแค่ธุรกิจโรงภาพยนตร์เพียงอย่างเดียว แต่สนใจร่วมลงทุนอะไรก็ได้ที่เป็นไลฟ์สไตล์ เทรนดี้ ตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่

ทั้ง 2 ธุรกิจมีกลุ่มลูกค้าเดียวกันกับเมเจอร์ และจะต่อยอดธุรกิจไปข้างหน้าได้

เขา วางให้ สยามฟิวเจอร์ จะทำหน้าที่แขนงด้านการลงทุน ช่วยให้เมเจอร์ขยายธุรกิจได้ในทำเลขนาดเล็กเกินกว่าที่จะขึ้นโครงการซีนีเพล็กซ์ เหมือนรูปแบบการขยายของเมเจอร์ที่ผ่านมา

ส่วนแคลิฟอร์เนีย ว้าวฯ จะเป็นอีกจิ๊กซอร์ ตอบโจทย์ Total Entertainment Lifestyle เน้นสร้างประสบการณ์บันเทิงในกลุ่มผู้รักการออกกำลังกาย

ทัพธุรกิจที่เริ่มต้นจาก โรงหนัง ถูกขายผลสู่ ฟิตเนส และรีเทล รวมเป็นสูตรสำเร็จสร้างมูลค่าธุรกิจให้กับ "วิชา" ได้อย่างเป็นกอบเป็นกำในช่วง 3 ปีมานี้ในอัตราการเติบโตทุกปี ๆ ละ 10-20%

โดย***ส่วนหุ้นที่ "วิชา" ถือมีจำนวนถึง 317,017,200 หุ้น คิดเป็น 44.69% จากสินทรัพย์รวมเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ปี 2545 ที่มีทั้งหมด 2,773.77 ล้านบาท

สินทรัพย์ดังกล่าวเพิ่มค่าขึ้นเป็น 3,658.95 ล้านบาท ใน ปี 2546 ก่อนจะเพิ่มเป็น 6,647.46 ล้านบาท ในปี 2547 จำนวน

เพิ่มพูนขึ้นเป็น 7,393.96 ล้านบาท ในปี 2548 และครึ่งปีแรก 2549 อยู่ที่ 8,194.70 ล้านบาท

เฉพาะ 6 เดือนแรกของปี 2549 มีรายได้รวม 2,505 ล้านบาท กำไรสุทธิ 389 ล้านบาท

“เรายังขยายงานไปเรื่อย ๆ ในทุกส่วน อย่างครึ่งปีหลังจะเปิดดำเนินการแบรนด์ใหม่ เป็นแบรนด์ที่ 4 ในเดือนพฤศจิกายน 2549 ได้แก่ เอสพานาร์ด (Esplanada) ซึ่งจะทำให้เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ณ สิ้นปี 2549 มีสาขารวมทั้งสิ้น 35 สาขา 303 โรง และโบว์ลิ่ง 22 สาขา 462 เลน”

แม้วันนี้ "วิชา" จะเริ่มถอยบทบาทของตัวเองจาก ‘ผู้ลงมือทำ’ มาสู่ ‘ผู้คุมความคิด’ เพื่อขับเคลื่อนเมเจอร์กรุ้ปให้เดินตามทิศทางที่วางไว้

ปีหน้าจะมีใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 800-1,000 ล้านบาท เพื่อเปิดสาขาใหม่อีกประมาณ 4 สาขา เช่น สาขาพัทยา เป็นต้น

พร้อมทำการรีโนเวทและเพิ่มจำนวนโรงในสาขาเดิม ยกตัวอย่าง เช่น ที่อีจีวีอิมพีเรียลสำโรง จะเพิ่มจำนวนโรงภาพยนตร์จาก 4 โรงเป็น 12 โรง

จุดสำคัญอยู่ที่ การมองหาอินโนเวชั่นเข้ามาเสริมธุรกิจ เพื่อก้าวให้ทันกับเทคโนโลยีและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค ตามโจทย์ของความเป็นผู้นำ Total Entertainment Lifestyle

...ตามความคิดของผม คนที่ทันเกม คิดได้ก่อนและลงมือทำก่อนอย่างถูกต้อง จะได้เปรียบ และครองความเป็นผู้นำได้ ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถของผม

จากมูลค่าสินทรัพย์เข้าขั้นหลัก 8 พันล้าน คงไม่มีทีท่าว่าจะ "หยุดวิ่ง" ตราบใดที่ "วิชา" ยังไม่เลิกแสวงหา "อินโนเวชั่น"

ผู้แสดงความคิดเห็น musashi วันที่ตอบ 2006-09-11 09:00:50 IP : 202.139.223.18


ความคิดเห็นที่ 5 (713235)
ผู้แสดงความคิดเห็น _ ›ำ^๖ฝขถ จ วันที่ตอบ 2007-07-18 14:56:10 IP : 203.146.127.159


ความคิดเห็นที่ 6 (748510)
ผู้แสดงความคิดเห็น _ ›ำ^๖ฝขถ จ วันที่ตอบ 2007-08-24 17:11:44 IP : 203.146.127.179



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.